กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2563
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
กลุ่มคน
1. นางสำลี ลัคนาวงศ์
2. ว่าที่ ร.ต. สุกลพรหมรักษ์
3. นายกิตติศักดิ์ สุวรรณรัตน์
1. นายลิขิตอังศุภานิชผู้ประสานงาน คนที่ 1 (08-24310006)
2. นางสาวสุรีย์คงแก้วผู้ประสานงาน คนที่ 2 ( 09-58629050 )
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถิติระบาดวิทยาพบว่า ทั้งอัตราป่วยและอัตราตายยังสูงอยู่พบได้ทุกวัย ปัจจุบันไม่สามารถค้นคว้าวัคซีนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อควบคุมยุงพาหะให้มีจำนวนน้อยลงจนไม่เป็นปัญหาในการระบาด ของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมอย่างทั่วถึงให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบพร้อมๆกันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดยุงลายจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้ ปัจจัยที่มีความสำคัญ ต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของเชื้อไวรัส ความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร สภาพภูมิอากาศ ชนิดของยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ของประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา และนโยบายในระดับชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีการแปรเปลี่ยนและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างยิ่ง และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24กันยายน 2562 พบว่า ผู้ป่วย93,007 ราย ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ.2561 ถึง 1.6 เท่า เสียชีวิต 98 ราย สูงกว่าปกติ คือร้อยละ 0.11 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบมากที่สุดคือกลุ่ม 5-14 ปี รองลงมา 15-34 ปี และแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ( ที่มา: จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 กันยายน 2562) ส่วนสถานการณ์โรคชิคุนกุนยาหรือไข้ป่วยข้อ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 กันยายน 2562 พบผู้ป่วย 7,481 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ 25-34 ปี รองลงมาคือ 35-44 ปี และ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ปัตตานี ระนอง ตาก ภูเก็ต และสงขลา ตามลำดับ (ที่มา :สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จ.สระบุรี/กองโรคติดต่อนำโดยแมลง/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค ลงวันที่ 20 กันยายน 2562)

ตำบลกำแพง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยามาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2560-2562 พบว่า ในปี 2560 มีอัตราป่วย เท่ากับ 131.52 ( 126 ราย) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560)ในปี 2561 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1015.72 (190 ราย) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561)และปี 2562 มีอัตราป่วย เท่ากับ 871.38 (163 ราย ) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2562)ส่วนโรคชิคุนกุนยา ข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่ 2561-2562 พบว่า ในปี 2561 มีอัตราป่วยเท่ากับ 972.95 (182 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561) ในปี 2562 มีอัตราป่วยเท่ากับ 58.80 (11 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ตุลาคม 2562) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมา 10-14 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ ( ที่มา : จากศูนย์ระบาดอำเภอละงู ) จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
    ตัวชี้วัด : 1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลง 2. แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา 3. แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90 4. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90 5. มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบ ในพื้นที่ตำบลกำแพง ร้อยละ 100 6. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CI = 0
    ขนาดปัญหา 871.38 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.1. ประสานงานกับกลุ่มแกนนำ ผู้เข้าร่วมโครงการ

    1.2 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

    • การบรรยายโดยวิทยากร ฉายวิซีดี วงจรการเกิดโรค การติดต่อ อาการ การดูแลผู้ป่วย วงจรชีวิตของยุงลาย การทำลายแหล่งภาชนะ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การกำจัดยุงลาย การปฏิบัติตัวตามหลัก 3 เก็บ การหาค่า HI ,CI

    • ให้ความรู้เรื่องการใช้ทรายอะเบท การผสมน้ำยาการดูแล การซ่อมบำรุง เครื่องพ่นหมอกควัน กิจกรรมสาธิตย้อนกลับและประเมินผลเป็นรายบุคคล เรื่องการผสมน้ำยา การใช้เครื่องพ่นหมอกควัน

    1.3 ประเมินแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้าน จำนวน84คน


      งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 5,850 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เอกสารที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 6,000 บาท
    • ค่ายานพาหนะเดินทางไป-กลับ จำนวน 84 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
    งบประมาณ 29,025.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    2.1 ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาและหาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนยา เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 เดือน

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้าน จำนวน84คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90คนๆละ 4 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เอกสารที่ใช้ในการอบรม จำนวน 4 ครั้งๆละ 1,000 เป็นเงิน 4,000 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทางไป-กลับ จำนวน 4 ครั้งๆละ 84 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 33,600 บาท
    งบประมาณ 46,600.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นซีดี ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน

    3.2 รณรงค์ดำเนินกิจกรรม ( Big Cleaning) ในหมู่บ้าน/ โรงเรียน พร้อมสำรวจค่า HI,CI เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน

    3.2 ประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา โดยการคัดเลือกหมู่บ้านละ 1 ครัวเรือนและโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 2 รอบ ( 3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง) เพื่อมอบสัญลักษณ์บ้าน/โรงเรียน สะอาด ปลอดโรค ไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

    เป้าหมาย

    • หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์( สปอตโฆษณา ) เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับทีมคณะเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 หมู่บ้าน 7 คนละๆ 20 บาท จำนวน 8 ครั้ง เป็นเงิน 13,440 บาท
    • ค่าแบบสำรวจ จำนวน 500 ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    • ค่าธง ขนาด 30 x 45 cm เสาอะลูมิเนียม สูง 70 cm ราคาชุดละ 250 จำนวน 26 ผืน เป็นเงิน 6,500 บาท
    • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประเมินบ้านต้นแบบ จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท จำนวน 2 ครั้งๆละ 2 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
    งบประมาณ 26,440.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา กรณีเกิดการระบาด
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    4.1 จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย

    4.2 รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ของแต่ละหมู่บ้าน โดยลงพ่นสารเคมีและแจกทรายอะเบท พร้อมลงสืบสวนโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน

    4.3 จัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ในช่วงปิดภาคเรียน

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ประชาชน/เด็กนักเรียน กลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

    งบประมาณ

    • ค่าเคมีภัณฑ์กำจัดยุงตัวเต็มวัยสำหรับพ่นหมอกควัน ขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 ขวดๆละ 1,650 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
    • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ ( ทรายอะเบท) จำนวน 2 ถังๆละ 4,900 บาท เป็นเงิน 9,800 บาท
    • ค่าน้ำมันสำหรับผสมเคมีภัณฑ์ในการพ่นหมอกควันกำจัด เป็นเงิน 30,000 บาท แยกเป็น น้ำมัน เบนซิล 200 ลิตร เป็นเงิน 10,000 บาท และน้ำมัน ดีเซล 600 ลิตร เป็นเงิน 20,000 บาท
    • หน้ากากเซฟตี้กันเคมี จำนวน 3 โหล ๆละ 1,080 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท
    งบประมาณ 47,990.00 บาท
  • 5. กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 2,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 152,055.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุน ไม่เกิน 50 คน ต่อแสนประชากร ของประชาชนและนักเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
  2. มีแกนนำ เครือข่าย ทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาแต่ละหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
  3. แกนนำ/ประชาชน/มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ตลอดจนตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก /โรคชิคุนกุนยา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
  5. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
  6. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 152,055.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................