กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยิ้มใสๆในผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยิ้มใสๆในผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ทีมสุขภาพคลินิกเติมยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นางสุกัญญา ขำยา ประธานทีมสุขภาพคลินิกเติมยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
2.นางสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาล
3.นางหทัยพร ดำฝ้าย
4.นางสาวสุภาพรช่วยอนันต์
5.นางยุพา เกื้อสกุล
6.นางสมศรีคำคง ผู้ประสานงาน

ศาลาเอนกประสงค์ ของหมู่บ้าน หมู่ที่ 2,4,5,7,8,9,11 ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 93000

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

 

2.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

 

2.00
3 ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้

 

2.00
4 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้

 

2.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ได้ออกคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง พบว่าประชาชนเป็นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น จาก พ.ศ. ๒๕๕๑ ประชาชนเป็นโรคเบาหวานจำนวน ๑๔๗คนโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๓๑๕คน และปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จำนวน๑๕๑คน โรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๓๑คนซึ่งจากการสำรวจและลงสอบถามพบประชาชนไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคทำให้จำนวนอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจำนวนขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยเบาหวานคไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้จำนวน ๖๓คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควมคุมโรคความดันโหลิตสูงได้จำนวน ๒๑๐คน และในปีพ.ศ. ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๗๐คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๔๑ ผู้ป่วยโรคความดันโหลิตสูงไม่สามารถควมคุมโรคได้เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน๒๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๗๕
ดังนั้น ทีมสุขภาพคลินิกเติมยาโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเมือง จังหวัดพัทลุงจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยิ้มใสๆในผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคและผู้ป่วยเรื้อรังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน ๔๐๖ คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

2.00 80.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผุู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน ๔๐๖ คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

2.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมโรคได้

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ลดลง ร้อยละ ๑๐

2.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 406
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 406 คน เรื่อง "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ.2ส.เพ่ื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน"

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 406 คน เรื่อง "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ.2ส.เพ่ื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 2 จำนวน 86 คน วันที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 13.00 - 16.30 น. อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 4 จำนวน 61 คน วันที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 5 จำนวน 56 คน วันที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 13.00 - 16.30 น.อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 7 จำนวน 41 คน วันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น.อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 8 จำนวน 34 คน วันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 13.00 - 16.30 น.อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 9 จำนวน 33 คน วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. อบรมผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่ที่ 11 จำนวน 95 คน อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังท้ังหมด 7 หมู่บ้าน รวมจำนวน 406 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังเข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรับยาต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 406 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 เป็นเงิน 8,120 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและตรวจติดตามสุขภาพพร้อมจ่ายยาต่อเนื่อง จำนวน 2 คนๆละ 7 วันๆละ 1 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน4,200 บาท ค่าสำเนาเอกสารการอบรม จำนวน 406 ชุด ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 1,218 บาท
ค่าสำเนาเอกสารและอุปกรณ์สำหรับการอบรม(ถุงผ้า ปากกา สมุด เอกสารเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนเพื่อลดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน)จำนวน406 ชุดๆละ 50 บาทเป็นเงิน 20,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 406 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควมคุมโรคได้และป้องกันภาวะแทรกซ้อน 2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 3.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อน 4.ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเรื้อรังที่ควบคุมโรคไม่ได้ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33838.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,838.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 80 ของผุู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 406 คนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคและป้องกันแทรกซ้อน
2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
4.ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ลดลง


>