กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยิ้มใสๆในผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L3357-02-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมสุขภาพคลินิกเติมยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,838.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุกัญญา ขำยา
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 406 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
2.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
2.00
3 ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้
2.00
4 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ได้ออกคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง พบว่าประชาชนเป็นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น จาก พ.ศ. ๒๕๕๑ ประชาชนเป็นโรคเบาหวานจำนวน ๑๔๗คนโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๓๑๕คน และปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จำนวน๑๕๑คน โรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๓๑คนซึ่งจากการสำรวจและลงสอบถามพบประชาชนไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคทำให้จำนวนอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจำนวนขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยเบาหวานคไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้จำนวน ๖๓คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควมคุมโรคความดันโหลิตสูงได้จำนวน ๒๑๐คน และในปีพ.ศ. ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๗๐คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๔๑ ผู้ป่วยโรคความดันโหลิตสูงไม่สามารถควมคุมโรคได้เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน๒๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๗๕ ดังนั้น ทีมสุขภาพคลินิกเติมยาโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเมือง จังหวัดพัทลุงจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยิ้มใสๆในผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคและผู้ป่วยเรื้อรังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน ๔๐๖ คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

2.00 80.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผุู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน ๔๐๖ คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

2.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมโรคได้

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ลดลง ร้อยละ ๑๐

2.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผุู้ป่วยโรคเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมโรคได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 เม.ย. 63 อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 406 คน เรื่อง "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ.2ส.เพ่ื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน" 0.00 33,838.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของผุู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 406 คนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคและป้องกันแทรกซ้อน 2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อน 3.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 4.ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 00:00 น.