กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาล ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญาขำยา
3.นางยุพาเกื้อสกุล
4.นางหทัยพรดำฝ้าย
5.นางสาวสุภาพร ช่วยอนันต์
6.นางจำนงค์ หอยสกุล
7.นางปรีดามืดมาก

ห้องประชุมต้นไทรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ,ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ ,๔ ,๕, ๗ ,๘, ๙และ ๑๑ตำบลนาโหนด อ.เมืองจ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุรับการปฏิบัติกิจวัตรประวันไม่ถูกต้องทำให้เกิดภาวะสุขภาพจากที่ช่วยเหลือตนเองได้ต้องมาเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

 

2.00
2 ผู้สุูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่เห็นความสำคัญในการปฏิบัติหรือจัดสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดอุบัติเหตุผู้สูงอายุหกล้มมีปัญหาการเคลื่อนไหวทำให้ผู้สูงอายุต้องมีภาวะพึ่งพิง

 

2.00
3 ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะข้อติด ทำให้มีปัญหาการเคลื่อนไหว

 

2.00

ปัจจุบันผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วส่งผลเข้าสู่ภาวะประชากรผู้สูงอายุอันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งต่อตัวผู้สูงอายุ ครอบครัว สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุตกอยู่ในสภาพต้องพึ่งพิง ก่อนวัยอันสมควร คือ โรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวโจ โรคความดันเลือด มะเร็งเบาหวาน สมองเสื่อม โรคกระดูกและไขข้อโรคซึมเศร้าและจากการดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ถุูกต้องทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมีภาวะข้อติดช่วยเหลือตนเองไม่ได้จากสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น จากการออกคัดกรองในปี ๒๕๖๑ ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน ๑๘ คน ติดเตียงจำนวน ๔ คน และในปี พ.ศ.๒๕๖๒ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มติดบ้านจำนวน ๓๓ คน กลุ่มติดเตียง ๙ คน
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดโครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างสรรค์กิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพสร้างสุขภาพให้กับตนเองสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ถูกต้อง และเข้ากลุ่มเพื่อนสมาชิกในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 625 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวัยผู้สูงอายุได้

2.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญรับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุจำนวน 625 คน ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ

2.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุพบมีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลและส่งต่อ

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่ตรวจประเมินสุขภาพพบเสี่ยงได้รับการดูแลและได้รับการส่งต่อ

2.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 625
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ดูแลและผู้สูงอายุ จำนวน 625 คน โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน ท้ังหมด 7 หมู่บ้าน อบรมให้ความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุ”

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ดูแลและผู้สูงอายุ จำนวน 625 คน โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน ท้ังหมด 7 หมู่บ้าน อบรมให้ความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุ”ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน วันที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 12.00 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 2 จำนวน 100 คน วันที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 13.00 – 16.30 น.อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4จำนวน 112 คน วันที่ 21 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 12.00 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 จำนวน 80 คน วันที่ 21 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 13.00 – 16.30 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 7 จำนวน 89 คน วันที่ 22 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 12.00 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 8 จำนวน 66 คน วันที่ 22 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 13.00 – 16.30 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 9 จำนวน 68 คน วันที่ 23 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 12.00 น. อบรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 11 จำนวน 110 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุเข้าอบรมและทีมผู้ดูแลผู้สงอายุ จำนวน 625 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวัยสูงอายุ (อบรมลงพื้นที่-ทั้ง 7 หมู่บ้าน) จำนวน 3 คนๆละ 7 วันๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 12,600 บาท ค่าสำเนาเอกสารในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ(ใบประเมิน ADL , ใบประเมินโรคหลอดเลือดสมอง, ใบประเมินข้อเสื่อม , ใบประเมินสมองเสื่อม,ใบประเมินการมองเห็น) จำนวน 625 คนๆละ 1 ชุดๆละ 3 บาท เป็นเงิน 1,875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน 625 คนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแล สุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง ๒. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน625คน ได้รับการตรวจสุขภาพประเมินกิจวัตรประจำวัน อย่างน้อยร้อยละ 80 จำนวน 480 คน
๓. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่พบเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยน การดูแลและการส่งต่ออย่างถูกต้องตามระบบ ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,975.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน 625 คนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแล สุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
๒. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน625คน ได้รับการตรวจสุขภาพประเมินกิจวัตรประจำวัน อย่างน้อยร้อยละ 80 จำนวน 480 คน
๓. ผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่พบเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยน การดูแลและการส่งต่ออย่างถูกต้องตามระบบทุกคน


>