กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ชุมชนบ้าน ทุ่งโดน 2

1. นางสาวปภาอร อรัญดร
2. นางนิธนันท์ มณีโชติ
3. นางนิภา รอดกำเนิด
4. นางอำนวย อรัญดร
5. นายสุชาติ นิ่มหนู

ชุมชนบ้าน ทุ่งโดน 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่
เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่เสียงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชน ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารมัน ของคนในชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย การผลิตอาหาร ในช่วงงานเลี้ยงหรืองานเทศกาลต่าง ๆ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาหารแกงกะทิเป็นหลัก ซึ่งมีความมัน และการบริโภคอาหารว่าง ชาวบ้านมักจะบริโภคอาหารประเภทที่มีรสหวานเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยเบาหวานหลายรายที่อยู่ในภาวการณ์พึ่งพาอาศัยร่วมกับลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะต้องประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารต่างไม่คำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลังงานและไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคของคนในชุมชน
ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการที่มีอายุมากขึ้น ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาปี 2561 พบว่า มีประชากรป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน 52 คน และความดันโลหิตสูง จำนวน 74 คน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีแนวโน้มต่อการเพิ่มอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งโดน 2

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถลดหรือควบคุมค่าดัชนีมวลกายได้ดีกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองมากขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  3. กลุ่มเป้าหมายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไป
0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการโรค
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยะ 70
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากกว่า ร้อยละ 20
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 15 คน x 2 ครั้ง
=  750.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าเครื่องวัดระดับน้ำตาล
2,500.- บาท x 2 เครื่อง
= 5,000.- บาท
2.2 ค่าแถบตรวจวัดน้ำตาล
500.- บาท (25 ชิ้น/กล่อง)
x จำนวน 10 กล่อง
= 5,000.- บาท
2.3 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต
2,500.- บาท x 2 เครื่อง
= 5,000.- บาท
2.4 ค่าสมุดบันทึก
20.- บาท x 50 เล่ม
= 1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 50 คน x 1 ครั้ง
= 1,250.-  บาท 3.2 ค่าจัดทำแผ่นพับ
5.- บาท x 50 แผ่น  =  250.-  บาท
3.3 ค่าป้ายไวนิล
1.2 x 2.4 x 150.- บาท
= 432.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1932.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ค่าสมนาคุณวิทยากร
600.- บาท x 1 คน x 4 ชั่วโมง
= 2,400.- บาท 4.2 ค่าอาหารกลางวัน
80.- บาท x 50 คน x 1 มื้อ
= 4,000.- บาท
4.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 50 คน x 2 มื้อ
= 2,500.- บาท 4.4 ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,582.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>