กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7357-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านทุ่งโดน 2
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,932.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปภาอร อรัญดร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.พ. 2563 30 ก.ย. 2563 27,932.00
รวมงบประมาณ 27,932.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่
เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่เสียงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชน ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารมัน ของคนในชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย การผลิตอาหาร ในช่วงงานเลี้ยงหรืองานเทศกาลต่าง ๆ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาหารแกงกะทิเป็นหลัก ซึ่งมีความมัน และการบริโภคอาหารว่าง ชาวบ้านมักจะบริโภคอาหารประเภทที่มีรสหวานเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยเบาหวานหลายรายที่อยู่ในภาวการณ์พึ่งพาอาศัยร่วมกับลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะต้องประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารต่างไม่คำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลังงานและไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคของคนในชุมชน ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการที่มีอายุมากขึ้น ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาปี 2561 พบว่า มีประชากรป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน 52 คน และความดันโลหิตสูง จำนวน 74 คน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีแนวโน้มต่อการเพิ่มอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งโดน 2

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถลดหรือควบคุมค่าดัชนีมวลกายได้ดีกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองมากขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  3. กลุ่มเป้าหมายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไป
0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการโรค
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยะ 70
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากกว่า ร้อยละ 20
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน 0 750.00 750.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ 0 15,480.00 15,480.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 0 1,802.00 1,802.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 9,900.00 9,900.00
รวม 0 27,932.00 4 27,932.00
  1. ร่วมประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีดำเนินงานโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบสนับสนุน
  3. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ
  6. ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน,อบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง)
  7. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการที่สถานพยาบาล ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากการลงพื้นที่ในการดำเนินโครงการร้อยละ 50
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัว เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 14:59 น.