กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านห้วยลึก ตำบลดอนทราย

1.นายเคลิ้ม บัวแก้ว
2.นายบุญเชิญ ทองกาวแก้ว
3.นายประสิทธิ์ ศักดิ์วรเดช
4.นางเสาวภา ชุมแสง
5.นางอาจินต์ ฤทธิ์เทวา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกับอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น เหงือก ตา ฟัน ไต หัวใจ และระบบประสาทหลอดเลือดแดง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังนั้นมักมีหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอจนอาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ทำให้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าลดลงหรือเกิดอาการปวดขณะเดินมากๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาตลอด สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆมากมาย แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวานในรายที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดันหรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าจะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้แผลลุกลามอาจถึงขั้นตัดขาได้ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงการดูแลเท้าให้ถูกต้อง เหมาะสม และการดูแลไม่ต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเท้า ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการเท้าชา จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เท้าขึ้น โดยอาการเท้าชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆที่ปลายเท้าหรือมีอาการเหมือนมีอะไรยุบยิบๆตามปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็นทำงานบกพร่องไปแล้วอย่างน้อย 50% โดยถ้าเส้นประสาทรับความรู้สึกทำงานบกพร่องไปอย่างช้าๆ อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติและมักตรวจพบได้ยาก แต่ถ้าเกิดการบกพร่องไปอย่างรวดเร็วจะเกิดอาการที่ชัดเจน อาการเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง
ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของคนไทยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ 73 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจมีสามเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรคเบาหวาน จากสถิติในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยทั้งหมด 876,970 ราย ในจังหวัดพัทลุงมี 23,438 ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย พบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ทั้งหมดจำนวน 80 ราย จากการคัดกรอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมันสูง อาหารรสจัด อาหารไม่เหมาะกับสภาวะโรคและร่างกายของตนเอง ดังนั้นการดูแลตัวเองและป้องกันไม่ให้เกิดอาการเท้าชาในทางแพทย์แผนไทยก็คือ การแช่เท้าด้วยสมุนไพร โดยการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเป็นวิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่คนไทยในอดีตจะแช่เท้าด้วยสมุนไพร เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายจากการทำงาน การแช่เท้ามีการใช้เข้ามารักษาหรือบำบัดได้ในหลายระดับ อันดับแรก คือช่วยผ่อนคลาย แช่เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวก ลดอาการตึงเครียด อีกอย่างการแช่เท้าไม่ใช่การรักษาเพียงแค่กาย แต่เกี่ยวเนื่องไปในส่วนของความรู้สึกทางอารมณ์ หากร่างกายเกิดความผ่อนคลายทางกาย ก็ส่งผลในสุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์แผนไทยซึ่งจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดแผล และผสมผสานเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาไทยที่ใช้สมุนไพรในการดูแลเท้าและยังให้ประชาชนรู้จักการใช้สมุนไพรไทยมารักษา ป้องกันไม่ให้เกิดโรคในระยะเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อรักษาอาการเท้าชาในผู้ป่วยเบาหวาน

1.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาร้อยละ 100 ได้รับการตรวจเท้าเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาร้อยละ 100 ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาและได้รับการแช่เท้า มีอาการเท้าชาลดลงอย่างน้อย 1 จุด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มโรคเบาหวาน จำนวน 80 ราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มโรคเบาหวาน จำนวน 80 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 120x240 ซม. เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าเอกสารความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การดูแลตนเองและสมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้า จำนวน 80 เล่มๆละ 12 บาท เป็นเงิน 960บาท    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,560 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1560.00

กิจกรรมที่ 2 แช่เท้าด้วยสมุนไพรในวันคลินิกเรื้อรังของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชา

ชื่อกิจกรรม
แช่เท้าด้วยสมุนไพรในวันคลินิกเรื้อรังของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมุนไพรสำหรับแช่เท้า จำนวน 160 ซองๆละ 40 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
  • ค่ากะละมังแช่เท้า จำนวน 15 ใบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าผ้าขนหนูเช็ดเท้า จำนวน 15 ผืนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าหม้อต้มน้ำ จำนวน 2 ใบๆละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ถังแก็สพร้อมหัวแก็ส จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 4,900 บาท
       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเท้าที่ถูกต้อง
2. สามารถลดอาการเท้าชาและลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
3. ผู้ป่วยเบาหวานเห็นความสำคัญของการดูแลเท้าและการป้องกันอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
4. ช่วยส่งเสริมการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษา


>