กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3335-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน ห้วยลึก หมู่ที่ 1 ตำบลดอนทราย
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเคลิ้ม บัวแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกับอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น เหงือก ตา ฟัน ไต หัวใจ และระบบประสาทหลอดเลือดแดง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังนั้นมักมีหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอจนอาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ทำให้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าลดลงหรือเกิดอาการปวดขณะเดินมากๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาตลอด สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆมากมาย แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวานในรายที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดันหรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าจะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้แผลลุกลามอาจถึงขั้นตัดขาได้ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงการดูแลเท้าให้ถูกต้อง เหมาะสม และการดูแลไม่ต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเท้า ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการเท้าชา จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เท้าขึ้น โดยอาการเท้าชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆที่ปลายเท้าหรือมีอาการเหมือนมีอะไรยุบยิบๆตามปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็นทำงานบกพร่องไปแล้วอย่างน้อย 50% โดยถ้าเส้นประสาทรับความรู้สึกทำงานบกพร่องไปอย่างช้าๆ อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติและมักตรวจพบได้ยาก แต่ถ้าเกิดการบกพร่องไปอย่างรวดเร็วจะเกิดอาการที่ชัดเจน อาการเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง
ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของคนไทยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ 73 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจมีสามเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรคเบาหวาน จากสถิติในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยทั้งหมด 876,970 ราย ในจังหวัดพัทลุงมี 23,438 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย พบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ทั้งหมดจำนวน 80 ราย จากการคัดกรอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมันสูง อาหารรสจัด อาหารไม่เหมาะกับสภาวะโรคและร่างกายของตนเอง ดังนั้นการดูแลตัวเองและป้องกันไม่ให้เกิดอาการเท้าชาในทางแพทย์แผนไทยก็คือ การแช่เท้าด้วยสมุนไพร โดยการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเป็นวิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่คนไทยในอดีตจะแช่เท้าด้วยสมุนไพร เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายจากการทำงาน การแช่เท้ามีการใช้เข้ามารักษาหรือบำบัดได้ในหลายระดับ อันดับแรก คือช่วยผ่อนคลาย แช่เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวก ลดอาการตึงเครียด อีกอย่างการแช่เท้าไม่ใช่การรักษาเพียงแค่กาย แต่เกี่ยวเนื่องไปในส่วนของความรู้สึกทางอารมณ์ หากร่างกายเกิดความผ่อนคลายทางกาย ก็ส่งผลในสุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์แผนไทยซึ่งจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดแผล และผสมผสานเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาไทยที่ใช้สมุนไพรในการดูแลเท้าและยังให้ประชาชนรู้จักการใช้สมุนไพรไทยมารักษา ป้องกันไม่ให้เกิดโรคในระยะเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อรักษาอาการเท้าชาในผู้ป่วยเบาหวาน

1.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาร้อยละ 100 ได้รับการตรวจเท้าเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาร้อยละ 100 ได้รับการแช่เท้าด้วยสมุนไพรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาและได้รับการแช่เท้า มีอาการเท้าชาลดลงอย่างน้อย 1 จุด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,710.00 2 15,710.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มโรคเบาหวาน จำนวน 80 ราย 0 1,560.00 1,560.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 แช่เท้าด้วยสมุนไพรในวันคลินิกเรื้อรังของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชา 0 14,150.00 14,150.00
  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้ออุปกรณ์
  3. อบรมให้ความรู้และแจกเอกสารความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน
  4. ให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรในวันคลินิกเบาหวานและวันอื่นๆตามอาการของผู้ป่วย
  5. ติดตามอาการและตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการแช่เท้าเพื่อประเมินอาการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเท้าที่ถูกต้อง
  2. สามารถลดอาการเท้าชาและลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
  3. ผู้ป่วยเบาหวานเห็นความสำคัญของการดูแลเท้าและการป้องกันอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  4. ช่วยส่งเสริมการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 15:12 น.