กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ร่วมตระหนัก หนุนช่วยรัฐ สู้ภัยโควิด-19 (COVID-19)ตำบลปากนํ้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สมาคมผู้บริโภคสตูล

1.นางกัลยทรรศน์ติ้งหวัง

2.นางสาวอนัญญาแซะอาหลี

3 นายสมพร เหมรา

4 นายตราเหมโคกน้อย

5 นายอดุลย์เตาวโต

พื้นที่ตำบลปากนํ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Coronavirus disease (COVID-19) ได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic และประเทศไทยได้ประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตรายให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการสำคัญของโรคมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของ โรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องอยู่ในระหว่างเฝ้าระวัง กักบริเวณในที่พำนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบ ทั้งด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น จึงเริ่มพบปัญหาการขาด แคลนอุปกรณ์ในการป้องกันโรค บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีไม่เพียงพอกับการดูแล ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา และสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ผู้ประกอบการต่าง ๆ ประสบปัญหาขาดทุนทำให้ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างคนงาน เป็นต้น ที่ผ่านมามีการปรึกษาหารือกับภาคียุทธศาสตร์ทั้งด้านสุขภาพและการ พัฒนาสังคม เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (พอช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง เครือข่ายหมออนามัย และ Thai PBS มาเป็นระยะ มีผลสรุปร่วมกันทที่เป็นสาระสำคัญ คือ สถานการณ์ดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยพลังพลเมืองร่วมมือกันบริหารจัดการปัญหาแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ โดยมีตำบลเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสร้างการบูรณาการบทบาทความรับผิดชอบและหนุนเสริมมาตรการทางสังคมกับภาครัฐอย่างเป็นระบบเนื่องจากตำบลมีต้นทุนและศักยภาพที่สำคัญทั้งการสนับสนุนทรัพยากรและองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิเช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงานภาครัฐทั้งท้องถิ่นและท้องที่
ปัจจุบันสมาคมผู้บริโภคสตูลมีการจดแจ้งจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย และมีเครือข่ายผู้บริโภคคลอบคุลมทุกพื้นที่ตำบลในจังหวัดสตูล หากสมาคมผู้บริโภคสตูลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ช่วยกันสนับสนุนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 มีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนสถานการณ์ให้ประชาชนในพื้นที่เท่าทันต่อสถานการณ์ปัญหา และกำหนดนโยบายสาธารณะระดับ พื้นที่ ด้วยการสร้างกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาในระดับตำบล ก็จะ ช่วยให้การสนับสนุนและส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจากการแพร่ระบาดของโรคจากนโยบายของภาครัฐ เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็นและเท่าทันต่อสถานการณ์ของพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ สมาคมผู้บริโภคสตูลจึงได้จัดทำโครงการรวมพลังพลเมือง ตื่นรู้ หนุนช่วยรัฐ สู้ภัยโควิด-19 ตำบลปากน้ำ ขึ้น เพื่อระดมความร่วมมือและทรัพยากรที่มีอยู่ใน ท้องถิ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และส่งเสริมสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่ออันตรายจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ไม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งหาแนวทางหรือ เตรียมการฟื้นฟูสุขภาวะของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ให้สามารถ กลับมามีสุขภาวะที่ดีต่อไป
จึงขอเสนอโครงการดังกล่าวเพื่อรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากน้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กร ประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เฝ้าระวัง ป้องกัน การติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

มีองค์กรเข้าร่วมในการเฝ้าระวังฯ อย่างน้อย ๑๔ องค์กร

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสามารถถ่ายทอดความรู้ในการการดูแลและแนะนำให้กับประชาชนของชุมชนในตำบลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันโรค โควิด -19  และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้โดยสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในตำบลของตนเอง ตามแนวทางและมาตรการต่างๆของประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนดในช่วงของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

-ร้อยละ 10 ของประชาชนมีพฤติกรรมฝ่าฝืนไม่สวมหน้ากากอนามัยในหมู่บ้าน

-มีกฎ กติกา  ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาดรคเชื้อไวรัสสายพันธืใหม่ (COVID-19)  จำนวน 1 ชุด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานชี้แจงรายละเอียด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานชี้แจงรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องในตำบล จำนวน 25 คน จำนวน 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงแผนงานโครงการ

ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

  • ค่าอาหารกลางวัน  100 บาท x25 คน x2ครั้ง = 5,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง25.บx25 คนx4 มื้อ = 2,500    บาท

  • ค่าวัสดุ    1,500      บาท  ปากกา  สมุด  กระดาษ  A4  แม็ก ลวดเย็บแม็ค .

รวมทั้งสิ้น  9,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 2 ลงพื้นที่ระดับหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
2 ลงพื้นที่ระดับหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ระดับหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดขึ้น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและรวบรวมความคิดเห็นมาเป็นฉันทามติของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน ๗ หมู่บ้านๆละ 35 คน เจ้าหน้าที่ สมาคมผู้บริโภค 4คน วิทยากร1คน โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วม โดยเชิญวิทยากรเพื่อให้ความรู้ด้านสาธารณสุข ตามแนวทางกรมควบคุมโรค (รายละเอียดตามกำหนดการที่แนบ) - ค่าอาหารกลางวัน 100บาทx40 คน x7ครั้ง = 28,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 25บาทx 40 คน x7 มื้อ= 7,000 บาท

  • ค่าวิทยากร 14 ชั่วโมงๆ ละ 600บาท = 8,400บาท

  • ค่าวัสดุ 500 บ.x 7 ครั้ง = 3,500บาท

  • ค่าพาหนะจ้างเหมาเรือไปกลับเกาะบุโหลน 7,800 บาท

รวมทั้งสิ้น 54,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54700.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปประมวลความคิดเห็นฉันทามติ ข้อตกลง มาตรการทางสังคมต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
สรุปประมวลความคิดเห็นฉันทามติ ข้อตกลง มาตรการทางสังคมต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปประมวลความคิดเห็นฉันทามติ ข้อตกลง มาตรการทางสังคมต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดการดูแลประชาชนในตำบลลปากน้ำ กำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพคน โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วม
จำนวน40คน เพื่อแก้ไขปัญหาโรคเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 - ค่าอาหารกลางวัน100บ.x40.คน = 4,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 25.บ x40 คน x2 มื้อ = 2,000บาท

  • ค่าวิทยากร 2 คนx 6 ชม.600บาท =3,600บาท

  • ค่าวัสดุ= 1,000 บาท

ปากกาสมุดกระดาษชาร์ด กระดาษA4

รวมทั้งสิ้น10,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีประกาศกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไข ปัญหาโรคเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

ชื่อกิจกรรม
เวทีประกาศกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไข ปัญหาโรคเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีประกาศกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไข ปัญหาโรคเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 จำนวน100คน ประกอบด้วยผู้แทนหมู่ๆละ จำนวน 90 คน และหน่วยงาน 10 คน ค่าอาหารกลางวัน100 บ.x 100 คน = 10,000 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ x100คน x2 มื้อ =5,000บาท

  • ค่าวิทยากร2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท=1,200บาท

รวมทั้งสิ้น16,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16200.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ   จำนวน  25  คน
- ค่าอาหารกลางวัน  100 บาทx25.คน = 2,500 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 25.บ x25 คน x2 มื้อ = 1,250    บาท

  • ค่าวิทยากร  3 ชม.x 600บาท  =  1,800  บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ 500 บาท

  • ค่าจัดทำรูปเล่ม 500 บาท

รวมทั้งสิ้น  6,550  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มองค์กร ประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

2. กลุ่มองค์กร ประชาชน มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสามารถถ่ายทอดความรู้การดูแลตนเอง และแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลของตนเองได้อย่างถูกต้อง

3. ประชาชนเกิดความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในตำบลของตนเอง ตามแนวทาง

และมาตรการต่าง ๆ ของประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนดในช่วงของสถานการณ์การแพ่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

4. เกิดนโยบายสาธารณะที่มีการประกาศเป็นกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญ สุขภาพ แผนพัฒนาตำบล ที่ทุกภาคส่วนจะแก้ไขปัญหาและนำไปปฏิบัติร่วมกัน สำหรับเฝ้าระวัง ป้องกัน และ
แก้ไขปัญหาการติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่


>