กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ร่วมตระหนัก หนุนช่วยรัฐ สู้ภัยโควิด-19 (COVID-19)ตำบลปากนํ้า
รหัสโครงการ 63-L5312-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมผู้บริโภคสตูล
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 97,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กัลยทรรศน์ ติ้งหวัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Coronavirus disease (COVID-19) ได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic และประเทศไทยได้ประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตรายให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการสำคัญของโรคมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของ โรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องอยู่ในระหว่างเฝ้าระวัง กักบริเวณในที่พำนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบ ทั้งด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น จึงเริ่มพบปัญหาการขาด แคลนอุปกรณ์ในการป้องกันโรค บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีไม่เพียงพอกับการดูแล ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา และสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ผู้ประกอบการต่าง ๆ ประสบปัญหาขาดทุนทำให้ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างคนงาน เป็นต้น ที่ผ่านมามีการปรึกษาหารือกับภาคียุทธศาสตร์ทั้งด้านสุขภาพและการ พัฒนาสังคม เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (พอช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง เครือข่ายหมออนามัย และ Thai PBS มาเป็นระยะ มีผลสรุปร่วมกันทที่เป็นสาระสำคัญ คือ สถานการณ์ดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยพลังพลเมืองร่วมมือกันบริหารจัดการปัญหาแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ โดยมีตำบลเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสร้างการบูรณาการบทบาทความรับผิดชอบและหนุนเสริมมาตรการทางสังคมกับภาครัฐอย่างเป็นระบบเนื่องจากตำบลมีต้นทุนและศักยภาพที่สำคัญทั้งการสนับสนุนทรัพยากรและองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิเช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงานภาครัฐทั้งท้องถิ่นและท้องที่ ปัจจุบันสมาคมผู้บริโภคสตูลมีการจดแจ้งจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย และมีเครือข่ายผู้บริโภคคลอบคุลมทุกพื้นที่ตำบลในจังหวัดสตูล หากสมาคมผู้บริโภคสตูลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ช่วยกันสนับสนุนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 มีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนสถานการณ์ให้ประชาชนในพื้นที่เท่าทันต่อสถานการณ์ปัญหา และกำหนดนโยบายสาธารณะระดับ พื้นที่ ด้วยการสร้างกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาในระดับตำบล ก็จะ ช่วยให้การสนับสนุนและส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจากการแพร่ระบาดของโรคจากนโยบายของภาครัฐ เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็นและเท่าทันต่อสถานการณ์ของพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ สมาคมผู้บริโภคสตูลจึงได้จัดทำโครงการรวมพลังพลเมือง ตื่นรู้ หนุนช่วยรัฐ สู้ภัยโควิด-19 ตำบลปากน้ำ ขึ้น เพื่อระดมความร่วมมือและทรัพยากรที่มีอยู่ใน ท้องถิ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และส่งเสริมสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่ออันตรายจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ไม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งหาแนวทางหรือ เตรียมการฟื้นฟูสุขภาวะของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ให้สามารถ กลับมามีสุขภาวะที่ดีต่อไป จึงขอเสนอโครงการดังกล่าวเพื่อรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากน้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กร ประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เฝ้าระวัง ป้องกัน การติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

มีองค์กรเข้าร่วมในการเฝ้าระวังฯ อย่างน้อย ๑๔ องค์กร

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสามารถถ่ายทอดความรู้ในการการดูแลและแนะนำให้กับประชาชนของชุมชนในตำบลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันโรค โควิด -19  และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้โดยสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในตำบลของตนเอง ตามแนวทางและมาตรการต่างๆของประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนดในช่วงของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

-ร้อยละ 10 ของประชาชนมีพฤติกรรมฝ่าฝืนไม่สวมหน้ากากอนามัยในหมู่บ้าน

-มีกฎ กติกา  ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาดรคเชื้อไวรัสสายพันธืใหม่ (COVID-19)  จำนวน 1 ชุด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 97,050.00 0 0.00
1 ก.ย. 63 - 1 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงานชี้แจงรายละเอียด 0 9,000.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 2 ลงพื้นที่ระดับหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ 0 54,700.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 เวทีประกาศกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพ แผนพัฒนาตำบล เพื่อแก้ไข ปัญหาโรคเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 0 16,200.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ 0 6,550.00 -
19 ก.ย. 63 - 19 ธ.ค. 63 สรุปประมวลความคิดเห็นฉันทามติ ข้อตกลง มาตรการทางสังคมต่าง ๆ 0 10,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มองค์กร ประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

  2. กลุ่มองค์กร ประชาชน มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสามารถถ่ายทอดความรู้การดูแลตนเอง และแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลของตนเองได้อย่างถูกต้อง

  3. ประชาชนเกิดความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในตำบลของตนเอง ตามแนวทาง

และมาตรการต่าง ๆ ของประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนดในช่วงของสถานการณ์การแพ่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

  1. เกิดนโยบายสาธารณะที่มีการประกาศเป็นกฎ กติกา ข้อตกลง มาตรการทางสังคม ธรรมนูญ สุขภาพ แผนพัฒนาตำบล ที่ทุกภาคส่วนจะแก้ไขปัญหาและนำไปปฏิบัติร่วมกัน สำหรับเฝ้าระวัง ป้องกัน และ แก้ไขปัญหาการติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2563 15:05 น.