กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ดูแลสุขภาพเด็กเล็กด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ บ้านบางปลาหมอ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง

1. นางสาวกอลีเยาะ อาแวดือมอง
2. นายมูฮำหมัดรอซี แวยุนุ
3. นายอัมรันต์ มะแอ
4. นางฮามีดะห์ สาและ
5. นางซูมัยดะห์ ยุนุ
6. นางมารีนา สะมาแอ
7. นางซำสียะห์ สาและ

ม.8 บ้านบางปลาหมอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

50.00

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กเล็กในพื้นที่บ้านบางปลาหมอ หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จากการสำรวจข้อมูลของกลุ่มเด็กเล็กในพื้นที่บ้านบางปลาหมอโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่นผอมเกินไป อ้วนเกินไป ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ผู้ปกครองเลือกอาหารให้แก่บุตรหลานไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักเลือกอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการตามอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งถ้าเด็กได้รับอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะมีผลทำให้การพัฒนาการด้านร่างกายช้าไปด้วย แต่ถ้าเด็กได้รับอาหารที่มีประโชยน์ทำให้การพัฒนาการดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส การเรียนรู้ต่างๆก็จะดีตามไปด้วย
ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบางปลาหมอ หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านโภชนาการสำหรับเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กๆในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุข พัฒนาการได้สมส่วนตามวัย สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัยและได้รับสารอาหารครบตามอาหารหลัก 5 หมู่ จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพเด็กเล็กด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ บ้านบางปลาหมอ ปี 2564 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง และได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯในลำดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1 เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการในเด็กให้มีการพัฒนาการที่สมส่วนตามวัย
  1. เด็กอายุ0-5 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดี สมส่วนตามวัยร้อยละ 80
50.00 60.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็กเล็กในพื้นที่มีการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และได้รับอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่
  1. เด็กอายุ0-5 ปี ได้รับการบริโภคอาหารที่มีถูกต้องตามหลักโภชนาการ
50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมสมาชิกชมรมอสม.และเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 19x 25 บาทเป็นเงิน475บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างการรับรู้ และเข้าใจในกิจกรรมต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะเสี่ยงของเด็กที่มีอายุ0-5 ปี โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของเด็กในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะเสี่ยงของเด็กที่มีอายุ0-5 ปี โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของเด็กในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการชั่งนำ้หนัก วัดส่วนสูง และคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็ก 0-5 ในหมู่บ้านทุกคน ตามระแวกที่ได้แบ่งเขตรับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการชั่งน้ำหนักและส่วนสูงพร้อมบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการแก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการแก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x 250 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 คน x 60 บาทเป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท รวมเป็นเงิน 8,520 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และใส่ใจด้านพัฒนาการและการบริโภคอาหารของลูกหลาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8520.00

กิจกรรมที่ 4 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการคัดกรองสุขภาพเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการคัดกรองสุขภาพเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการคัดกรองสุขภาพเด็ก 0-5 ปี (ที่วัดส่วนสูง เครื่องชั่งน้ำหนักและอื่นๆ) เป็นเงิน6,030 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดกรองและการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6030.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนจากการดำเนินงานและจัดทำรายงานสรุปโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการบริโภคอาหารของบุตรหลาน สามารถจัดการบริโภคอาหารของบุตรหลานโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
2. เด็กเล็กในพื้นที่สามารถเลือกซื้อและบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการและได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ พร้อมทั้งพัฒนาการของเด็กที่มีความสมส่วนตามวัย
3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานในพื้นที่


>