กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กแรกเกิด - 5 ปี ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู

1. นางจุรีพร มานะกล้า ผู้ประสานงานคนที่ 1
2. นางสาวบุญศรี มาลินี ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวจิรัฐติกาล เจ๊ะสา
4. นางมีนา อุศมา
5. นางสาวรสนา หนูวงศ์

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการเลี้ยงดูเด็กให้เติบใหญ่เพื่อเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และเป็นอนาคตที่ดีของประเทศ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องให้ความสำคัญเรื่องการเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่เรื่องสุขภาพอนามัย การอุปโภค บริโภค และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมากเนื่องจากส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังชนิดต่างๆและภาพรวมแนวโน้มสงสัยพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยที่ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง การอุปโภค บริโภค ดังนั้นจึงไม่คำนึงถึงผลกระทบ หรือความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ ของเด็กในอนาคต ซึ่งศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและ การรักษาพยาบาลเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๖๖๔ ) ในส่วนที่ ๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ด้านพัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีการพัฒนาทักษะสมองและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม

จากการสำรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กพัฒนาการไม่สมวัยมาจากเด็กที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น เจ็บป่วยบ่อย น้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ ๘๐ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ ๗๒.๘๐การเลี้ยงดูแบบสมัยใหม่โดยใช้โทรศัพท์ในการเลี้ยงดูลูก อาจส่งผลระยะยาวทำให้เกิดสมาธิสั้น อารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง และจากการตรวจสุขภาพและคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ ยังพบปัญหาพัฒนาการสงสัยล่าช้าน้อยกว่า ร้อยละ๘๕ คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๐ จากเด็ก ๐ – ๕ ปี ทั้งหมด ๗๗๒ ราย

ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง จึงเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง๔ ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญา โดยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้บิดา-มารดา และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง ทั้ง ๔ ด้าน และมีสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว เพื่อให้เด็กเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง มีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่เหมาะสมตามวัย

บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรที่เหมาะสมตามวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยทั้ง ๔ ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย ทั้ง ๔ ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕

85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย

ชื่อกิจกรรม
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

2.ชี้แจงการดำเนินงานโครงการ

เป้าหมาย

  • บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี / ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 100 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย

  2. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ / ฝึกปฏิบัติการดูแลหลังรับวัคซีน

  3. ให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องทันตสุขภาพ

  4. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่อง การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ / ฝึกการจุดกราฟโภชนาการ

  5. ให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องพัฒนาการตามกลุ่มวัย

  6. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

เป้าหมาย

  • บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปีจำนวน๑๐๐คน
  • คณะทำงาน / ผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๑๐ คน

งบประมาณ

-ค่ายานพาหนะในการเดินทาง๑๐๐บ. X๑๐๐ คน = ๑๐,๐๐๐ บ.

-ค่าวิทยากร (ไม่ขอเบิกเนื่องจากหน่วยงานเดียวกัน)

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม/คณะทำงาน และผู้สังเกตการณ์๖๕ บ. X ๑๑๐ คน = ๗,๑๕๐ บ.

-ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม/คณะทำงาน และผู้สังเกตการณ์๒๕ บ. x 2มื้อ x ๑๑๐ คน = ๕,๕๐๐ บ.

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน ๑ ผืน ขนาด ๑.๕ x ๓ เมตร = ๖๗๕ บ.

-ค่าวัสดุ ๕๐บ. X๑๐๐คน= ๕,๐๐๐ บ.

รวมเงิน.....๒๘,๓๒๕..........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2564 ถึง 2 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของบิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28325.00

กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมพลังสมอง

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมพลังสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. กิจกรรมวาดภาพ ลูกของฉัน

  2. กิจกรรมที่บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องปฏิบัติเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการสมวัย

  3. กิจกรรมค้นหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

เป้าหมาย

  • บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่ แรกเกิด – ๕ ปี/ ผู้สังเกตการณ์จำนวน๑๐๐คน

  • คณะทำงาน / ผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๑๐ คน

งบประมาณ

  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง๑๐๐บ. X๑๐๐ คน = ๑๐,๐๐๐ บ.

  • ค่าวิทยากร (ไม่ขอเบิกเนื่องจากหน่วยงานเดียวกัน)

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม/คณะทำงาน และผู้สังเกตการณ์๖๕ บ. X ๑๑๐ คน = ๗,๑๕๐ บ.

  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม/คณะทำงาน และผู้สังเกตการณ์๒๕ บ. x 2 มื้อ x ๑๑๐ คน = ๕,๕๐๐ บ.

  • ค่าวัสดุ ๔๐ บ. X ๑๐๐ คน= ๔,๐๐๐ บ.

    รวมเงิน.....๒๖,๖๕๐..........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2564 ถึง 3 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหาอุปสรรค และหาแนวทางแก้ไข ตลอดจนการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26650.00

กิจกรรมที่ 4 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ๒๐ คน เพื่อสร้างครอบครัวต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ๒๐ คน เพื่อสร้างครอบครัวต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ติดตามประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามแบบประเมิน DSPM 5 ด้าน ตามกลุ่มวัย 3 ครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง

  2. มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างครอบครัวต้นแบบ

  3. มอบเกียรติบัตรพร้อมใส่กรอบให้กับ 3 ลำดับที่ ของครอบครัวต้นแบบ ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน DSPM


    เป้าหมาย

  • บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จำนวน20คน


    งบประมาณ

  • ค่าเกียรติบัตร30บ. X 17คน =510บ.

  • ค่าเกียรติบัตรพร้อมใส่กรอบ180 บ. X3คน=540บ.

    รวมเงิน.....1,050..........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดนวัตกรรมครอบครัวต้นแบบในการเลี้ยงดูบุตรที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลโครงการและการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการและการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. สรุปผลโครงการและการดำเนินกิจกรรม

  2. เข้าเล่มรายงานโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน๔เล่ม เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,025.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. บิดา – มารดาหรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี / ผู้สังเกตการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย การอุปโภค บริโภค พัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ และสังคม ที่เหมาะสมตามวัย

๒. เด็กปฐมวัยแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง ๔ ด้าน


>