กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายจัดการโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายจัดการโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม ๖๘,๔๐๘ ราย อัตราป่วย 103.18 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 50 ราย สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 3,511 ราย อัตราป่วย 70.78 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.17 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา 85.06 ต่อประชากรแสนคน (1,215 ราย) รองลงมา คือ จังหวัดนราธิวาส 74.81 ต่อประชากรแสนคน (598 ราย) และจังหวัดปัตตานี อัตราป่วย 74.94 ต่อประชากรแสนคน (535 ราย)
จากสถานการณ์ในจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยสะสมปี 2563 จำนวน 50 ราย อัตราป่วย 15.59 ต่อประชากรแสนคน และไม่ปรากฎผู้เสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ อำเภอมะนัง อัตราป่วย 33.14 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอำเภอท่าแพ อัตราป่วย 23.97 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอควนกาหลง อัตราป่วย 20.13 ต่อประชากรแสนคน ส่วนอำเภอละงู มีอัตราป่วยเพียง 9.72 ต่อประชากรแสนคน และยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ทั้ง 7 หมู่บ้าน ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน และตามที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทรได้มีการจัดทำระบบการแก้ปัญหาในพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายในชุมชุมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน โดยมีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดการระบาด เช่นการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์กำจัดยุง 2) การซ้อมแผนขณะเกิดการระบาด โดยการจำลองเหตุการณ์การระบาดในพื้นที่ มีการมอบหมายภารกิจขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ 3)การป้องกันโรคในภาวะปกติ ด้วยการสำรวจและเฝ้าระวังค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยพัฒนาระบบรายงานผลการสำรวจออนไลน์ ดังนั้นเพื่อการคงไว้ซึ่งระบบในการควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทรจึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายจัดการโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อจัดการการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเสริมพลังการทำงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อทบทวนองค์ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้อบรมการใช้งานระบบรับแจ้งผู้ป่วยและการรายงานผลการดำเนินงานผ่าน Social media

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 ผ่านการทดสอบปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

0.00 0.00
3 เพื่อกำหนดโมเดล Huaisai Preventive Disease : HPD Model
  • โมเดลมีการเผยแพร่แก่หน่วยบริการอื่น อย่างน้อย 1 แห่ง
0.00 0.00
4 เพื่อสร้างความตระหนักในการ กำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์และให้ความรู้ประชาชน
  • ผลการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI/CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
0.00 0.00
5 เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้รับการป้องกันโรคด้วยการฉีดพ่นเคมีกำจัดยุง

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 28/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (backward history)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (backward history)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : ตัวแทนองค์กร/กลุ่ม/ชมรมในหมู่บ้าน     1.1 บรรยายความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคไข้เลือดออกโดยวิทยาการระดับอำเภอ/จังหวัด     1.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา อุปสรรค และความสำเร็จการจัดการโรคไข้เลือดออกแต่ละหมู่บ้าน     1.3 ประเมินความรู้ ก่อน-หลัง วิทยากร : ศูนย์ระบาดวิทยา คปสอ.ละงู งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 35 คน
เป็นเงิน 1,750 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 35 คน เป็นเงิน 1,750 บ. - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6๐๐ บ.x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บ. รวมเป็นเงิน 6,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ (Action Disease Prevention practice 1)

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ (Action Disease Prevention practice 1)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : อสม.ที่ใช้สมาร์ทโฟนหมู่ละ 7 คน 2.1 การจัดทำระบบรายงานการดำเนินงานจัดการโรคไข้เลือดออกของผู้ป่วยในชุมชน ด้วย Facebook page
    - การบันทึกข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน หมายเลขโทรศัพท์ พิกัดหลังคาเรือน และภาพกิจกรรม one page วิทยากร : ศูนย์ระบาดวิทยา คปสอ.ละงู
งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บ. - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6๐๐ บ.x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บ. รวมเป็นเงิน 8,600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 ผ่านการทดสอบปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) 7 หมู่บ้าน (Action Disease Prevention practice 2)

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) 7 หมู่บ้าน (Action Disease Prevention practice 2)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : อสม.ทีมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 20 คน/กรรมการหมู่บ้าน วิทยากรเสริมพลัง : เจ้าหน้าที่ควบคุมโรค คปสอ.ละงู
    - ประชุมวางแผนการออกสุ่มสำรวจโซนเสี่ยงโรคไข้เลือดออก
- ลงพื้นที่สุ่มสำรวจ/ให้คำแนะครัวเรือนที่สำรวจ     - สรุปผลวิเคราะห์ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 25 คน
x 1 มื้อ x 7 ครั้ง เป็นเงิน 8,750 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x 2 มื้อ x 25 คน x 7 ครั้ง เป็นเงิน 8,75๐ บ. - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6๐๐ บ.x 1 ชม. x 7 ครั้ง เป็นเงิน 4,200 บ. รวมเป็นเงิน 21,700 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI/CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21700.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่รับผิดชอบ (Action Disease Prevention practice 3) (ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/พ่นละอองฝอยกำจัดยุง)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่รับผิดชอบ (Action Disease Prevention practice 3) (ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/พ่นละอองฝอยกำจัดยุง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/พ่นละอองฝอยกำจัดยุง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้รับการป้องกันโรคด้วยการฉีดพ่นเคมีกำจัดยุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 . อบรมเชิงปฏิบัติการ กำหนดโมเดล (Forward History)

ชื่อกิจกรรม
. อบรมเชิงปฏิบัติการ กำหนดโมเดล (Forward History)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ (Stakeholder)
วิทยากรจัดกระบวนการ : ผู้บริหารองค์กร,หัวหน้าฝ่ายควบคุมโรค สสอ.ละงู 5.1 พัฒนาองค์ความรู้ (Education)     3.2 การจัดการโรคและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ (Problem Base Learning : PBL)     5.3 ระดมความคิดทบทวนการดำเนินงาน (Brain storming) 5.4 ประเมินผลโครงการ (CIPP Model)     5.5 เขียนโครงร่างโมเดลการจัดการโรคไข้เลือดออกของ รพ.สต.บ้านห้วยไทร Huaisai Preventive Disease : HPD Model
งบประมาณ - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6๐๐ บ.x 6 ชม.x 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บ. - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓0 คน x 1 มื้อ x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๓0 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บ.
รวมเป็นเงิน 13,200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-- โมเดลมีการเผยแพร่แก่หน่วยบริการอื่น อย่างน้อย 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วย ปี 25๖4 ไม่เกินเกณฑ์ อัตราป่วย ๕๐ ต่อประชากรแสนคน
2. เครือข่ายสามารถจัดการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพกรณีเกิดการระบาดในพื้นที่
3. ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมป้องกันตนเองส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง
4. ไม่พบการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนในสถานศึกษา


>