กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังคนห้วยไทร ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่5 คน

1. นางสุวรรณีแซ่หลี
2. นางไมมูน๊ะ หลำย๊ะ
3. นางวิภาสงแก้ว
4. นางไมตรีไชยนวล
5. นางสุภาวดีอ่อนมาก

หมู่ ๑๐ บ้านห้วยไทร ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยติดอันดับที่ 5 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก โดยกว่าครึ่งในปริมาณขยะกว่า 8 ล้านตันที่ไหลลงมหาสมุทรนั้นเป็นพลาสติก ถือเป็นความท้าทายในการจัดการขยะของสังคมไทยลำดับแรกๆ และขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปีละกว่า 27.8 ล้านตัน จากการที่คนหนึ่งคนสร้างขยะวันละ 1.13 กิโลกรัม ในนั้นประมาณ 12 -13 % เป็นขยะพลาสติก และมีปริมาณขยะพลาสติกปนเปื้อนเพิ่มขึ้นจากช่วงสถานการณ์ปกติ อาจมีสาเหตุมาจากมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ (Work from home) สวัสดิการประชารัฐและโครงการคนละครึ่ง
บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านด่านแรกก่อนเข้าสู่เมืองละงู ประตูสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล สังเกตภูมิทัศน์ตามรายทาง สถานที่สาธารณะ วัด มัสยิด และชุมชนยังพบขยะเกลื่อนกลาด จากการอุปโภค บริโภคของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เมื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั่วพบว่ามีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก ถังพลาสติกที่มีน้ำขังและลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน ศาลาประชาคม มัสยิด และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้าน เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้สามารถเข้าถึงข่าวสารสาธารณะและสุขภาพ แต่ยังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง จากการดำเนินงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมายังไม่สามารถลดปริมาณขยะในหมู่บ้านได้ และยังขาดความเชื่อมโยงการความร่วมมือและการแสดงพลังของชุมชน ผู้นำชุมชน ในการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
จากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านห้วยไทร จึงได้จัดโครงการรวมพลังคนห้วยไทร ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่ายสร้างจิตสำนึก จิตอาสาในการกำจัด คัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ไม่เป็นแหล่งรังโรคไข้เลือดออก และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะที่ดี และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การจัดระบบสุขภาพอำเภอละงู คนละงูรักสะอาด ปราศจากโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกขยะ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

1.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน
  • จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ 8 ครั้ง
  • ระบบรายงานการคัดแยกขยะและสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ประชุมคณะทำงาน/ถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย : ตัวแทน อสม. กรรมการหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์และอื่นๆ- วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน และสถานการณ์โรคไข้เลือดออก- กำหนดประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไข- วางแผนการดำเนินงาน/กำหนดเวลา- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์/รณ

ชื่อกิจกรรม
๑. ประชุมคณะทำงาน/ถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย : ตัวแทน อสม. กรรมการหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์และอื่นๆ- วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน และสถานการณ์โรคไข้เลือดออก- กำหนดประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไข- วางแผนการดำเนินงาน/กำหนดเวลา- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์/รณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓๐ คน= ๑,๕๐๐ บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๓๐ คน = ๑,๕๐๐ บ.
  • ค่าวิทยากร 6๐๐ บ.x 5 ชม.
    = 3,0๐๐ บ.
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายรณรงค์ ๕๐๐ บาท x 3 แผ่น = ๑,5๐๐ บ.
    รวมเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
๒. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนในหมู่บ้าน 1.1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและฝึกปฏิบัติการคัดแยกขยะตามสีถัง 1.2 ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก กลไกการเกิดโรคและการแพร่เชื้อในร่างกาย และสาธิต/ฝึกปฏิบัติการกำจัดยุงตัวแก่ด้วยการฉีดสเปรย์ พ่นละอองฝอย ULV - ค่าวิทยากร 4๐๐ บ.x 5 ชม.
= 2,0๐๐ บ. - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๕๐ คน = 2,500 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๕๐ คน = 2,500บ. รวมเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมย่อย - รณรงค์การเก็บขยะ / ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ถนนสายหลัก มัสยิด วัด สถานที่ราชการ งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 35 คน x 8 ครั้ง = 7,๐๐๐ บ. - ถังขยะแยกสี ขนาด 120 ลิตร จำนวน ๑ ชุด = 8,000 บ. - ถุงดำ ๑๒ แพ็ค x 55บ. = ๖๖๐ บ. รวมเป็นเงิน 15,660 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ 8 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่พบขยะบนเส้นทางถนนในหมู่บ้าน
2. มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีในระดับครัวเรือน
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง
๔. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ


>