กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังคนห้วยไทร ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L5313-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่5 คน
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวรรณี แซ่หลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 30,160.00
รวมงบประมาณ 30,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยติดอันดับที่ 5 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก โดยกว่าครึ่งในปริมาณขยะกว่า 8 ล้านตันที่ไหลลงมหาสมุทรนั้นเป็นพลาสติก ถือเป็นความท้าทายในการจัดการขยะของสังคมไทยลำดับแรกๆ และขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปีละกว่า 27.8 ล้านตัน จากการที่คนหนึ่งคนสร้างขยะวันละ 1.13 กิโลกรัม ในนั้นประมาณ 12 -13 % เป็นขยะพลาสติก และมีปริมาณขยะพลาสติกปนเปื้อนเพิ่มขึ้นจากช่วงสถานการณ์ปกติ อาจมีสาเหตุมาจากมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ (Work from home) สวัสดิการประชารัฐและโครงการคนละครึ่ง บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านด่านแรกก่อนเข้าสู่เมืองละงู ประตูสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล สังเกตภูมิทัศน์ตามรายทาง สถานที่สาธารณะ วัด มัสยิด และชุมชนยังพบขยะเกลื่อนกลาด จากการอุปโภค บริโภคของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เมื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั่วพบว่ามีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก ถังพลาสติกที่มีน้ำขังและลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน ศาลาประชาคม มัสยิด และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้าน เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้สามารถเข้าถึงข่าวสารสาธารณะและสุขภาพ แต่ยังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง จากการดำเนินงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมายังไม่สามารถลดปริมาณขยะในหมู่บ้านได้ และยังขาดความเชื่อมโยงการความร่วมมือและการแสดงพลังของชุมชน ผู้นำชุมชน ในการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
จากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านห้วยไทร จึงได้จัดโครงการรวมพลังคนห้วยไทร ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่ายสร้างจิตสำนึก จิตอาสาในการกำจัด คัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ไม่เป็นแหล่งรังโรคไข้เลือดออก และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะที่ดี และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การจัดระบบสุขภาพอำเภอละงู คนละงูรักสะอาด ปราศจากโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกขยะ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

1.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน
  • จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ 8 ครั้ง
  • ระบบรายงานการคัดแยกขยะและสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,160.00 3 30,160.00
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 ๑. ประชุมคณะทำงาน/ถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย : ตัวแทน อสม. กรรมการหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์และอื่นๆ- วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน และสถานการณ์โรคไข้เลือดออก- กำหนดประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไข- วางแผนการดำเนินงาน/กำหนดเวลา- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์/รณ 0 7,500.00 7,500.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 3. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 0 15,660.00 15,660.00
1 - 31 มี.ค. 64 ๒. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนในหมู่บ้าน 0 7,000.00 7,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบขยะบนเส้นทางถนนในหมู่บ้าน
    1. มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีในระดับครัวเรือน
    2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง ๔. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 00:00 น.