กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน

ในพื้นที่ ม.1,2,3,8 และ 9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่งโลกและมีการแพร่ระบาดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาพยาบาลมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มวัย ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหนะนำโรคและพบว่ามีมีการระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน การระบาดมักจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปีแต่จะพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖3 จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 22 กันยายน 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 163 รายอัตราป่วย 13.05 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีอัตราตาย(ที่มา : รายงานโรคติดต่อนำโดยแมลง สคร.12 จังหวัดสงขลา )
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของ รพสต.บ้านตลิ่งชัน มีจำนวนผูป่วย 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ปี พ.ศ.2558 มีผู้ป่วย 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 128.15ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2559 มีผู้ป่วย 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 457.70ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2560 มีผู้ป่วย 18ราย คิดเป็นอัตราป่วย 329.45ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วย 41 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 750.64ต่อแสนประชาปีพ.ศ.2562 มีผู้ป่วย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 384.47ต่อแสนประชากรกร ปี พ.ศ.2563 ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 16 ตุลาคม 2563 มีผู้ป่วย 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 238.09ต่อแสนประชากรซึ่งจะเห็นว่าส่วนใหญ่แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ป่วยเกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ค่ามัธยฐาน 311.24 ต่อแสนประชากร)
ดังนั้น รพสต.บ้านตลิ่งชัน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว และอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2564 ขึ้น โดยเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพืนที่อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ประชาชนและสถานศึกษามีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
2.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย 1.1สำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนทุกสัปดาห์1.2เจ้าหน้าที่และ อสม.ร่วมกับครูทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1.3นักเรียนสำรวจภาชนะที่มีน้ำขังและทำลายแหล่งเพาะพันธ์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 1.4อสม.และเจ้าหน้าที่ ออกสำรวจไขว้หมู่บ้านไตรมาสละ 1 ครั้ง งบประมาณ -ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 2400 แผ่น×50สตางค์ =1200 -ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้แก่ประชาชนจำนวน 2000 แผ่น 50 สตางค์ =1000 บาท 1.5ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ไข้เลือดออดในวัดและสถานศึกษาทุกระดับ ค่าป้ายไวนิลจำนวน10 แผ่น×450 บาท = 4500 1.6 .จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรมนักเรียนจำนวน 50×25บาท= 1250
-ค่าวิทยากรอบรมนักเรียน 3 ชม.×300บาท =900 1.7จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.ทุกคน 1.8.จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตำบล-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม110คน×25บาท×2มื้อ=5500 -ค่าอาหารกลางวัน110คน×50บาท = 5500
-ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชม.×300=1500 รวมทั้งสิ้น21350.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน (HI)และค่าภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (CI) ไม่เกินร้อยละ 10 ,วัดและสถานศึกษาไม่พบลูกน้ำยุงลาย (CI=0) จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-พ่นหมอกควันกรณีเกิดโรคและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์,แจกทรายอะเบท,แจกสเปรย์แก่บ้านผู้ป่วยและพ่นหมอกควันรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย งบประมาณ ค่าไฟฉาย 3 กระบอก×350 บาท = 1050 -ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซอง500 ซอง×8บาท= 4000 -ค่าสเปรย์พ่นยุงขนาด 300 มล.30กระป๋อง×85บาท =2550 -ค่าน้ำยาเคมีสำหรับพ่นหมอกควัน1 ขวด×1,700บาท1700 -ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย1 ลิตร×2,800 บาท×2ขวด = 5600 -ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมี4ชิ้น×600บาท=2400 -ค่าชุดใส่พ่นหมอกควันจำนวน 3ชุด × 1,500 บาท=4500 รวมทั้งสิ้น21800.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน (HI)และค่าภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (CI) ไม่เกินร้อยละ 10 ,วัดและสถานศึกษาไม่พบลูกน้ำยุงลาย (CI=0) -จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกนค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
3.ชุมชน วัด และโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดไข้เลือดออก


>