กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน
รหัสโครงการ 64-L3346-5-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 43,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่งโลกและมีการแพร่ระบาดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาพยาบาลมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มวัย ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหนะนำโรคและพบว่ามีมีการระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน การระบาดมักจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปีแต่จะพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖3 จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 22 กันยายน 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 163 รายอัตราป่วย 13.05 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีอัตราตาย(ที่มา : รายงานโรคติดต่อนำโดยแมลง สคร.12 จังหวัดสงขลา ) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของ รพสต.บ้านตลิ่งชัน มีจำนวนผูป่วย 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ปี พ.ศ.2558 มีผู้ป่วย 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 128.15ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2559 มีผู้ป่วย 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 457.70ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2560 มีผู้ป่วย 18ราย คิดเป็นอัตราป่วย 329.45ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วย 41 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 750.64ต่อแสนประชาปีพ.ศ.2562 มีผู้ป่วย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 384.47ต่อแสนประชากรกร ปี พ.ศ.2563 ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 16 ตุลาคม 2563 มีผู้ป่วย 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 238.09ต่อแสนประชากรซึ่งจะเห็นว่าส่วนใหญ่แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ป่วยเกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ค่ามัธยฐาน 311.24 ต่อแสนประชากร) ดังนั้น รพสต.บ้านตลิ่งชัน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว และอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2564 ขึ้น โดยเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพืนที่อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนและสถานศึกษามีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ข้อที่ ๒ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ 1 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 ข้อที่ 2 จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (CI) ไม่เกินร้อยละ 10
ข้อที่ 3 สถานศึกษา และวัด ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย(CI=0) ข้อที่ 2 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2๐ ของค่ามัธยฐาน5ปีย้อนหลัง

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 63 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน 0 21,350.00 8,850.00
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมควบคุมโรค 0 21,800.00 34,300.00
รวม 0 43,150.00 2 43,150.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม. รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน ๒. ให้ อสม.ดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ใส่ทรายอะเบทในภาชนะที่มีน้ำขัง ดำเนินการร่วมกับเจ้าของบ้านในเขตรับผิดชอบของตนเอง ๓. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อไว้เปรียบเทียบหลังดำเนินโครงการ ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนปฏิบัติงานผ่านผู้นำชุมชน เพื่อให้ประชาชนรับทราบ     5. ประสานงานสถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ เพื่อร่วมกิจกรรม ขั้นดำเนินการ ๑. อสม.และเจ้าหน้าที่ ออกสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตามบ้านเรือนและในวัด โดยการสำรวจไขว้หมู่บ้าน ไตรมาสละ 1 ครั้ง 2. สถานศึกษา มีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และส่งแบบสำรวจให้ รพ.สต. เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อนำมาหาค่า CI และหาแนวทางเพื่อปรับปรุง       3. นำผลการสำรวจที่ได้มาสรุปผล หาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย คืนข้อมูลให้แก่ อสม.และประชาชนในวันประชุมประจำเดือน เพื่อให้ได้รับทราบว่าแต่ละหมู่บ้านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอยู่ระดับใด
4. หมู่บ้านที่มีดัชนีลูกน้ำยุงลายต่ำและไม่มีการเกิดโรคไข้เลือดออก แนะนำวิธีการดำเนินงานในหมู่บ้านของตนเองให้แก่ อสม.หมู่อื่นๆได้นำไปเป็นแนวทางต่อไป
    5. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนระดับประถมศึกษาและ อสม.ทุกคน     6. ขอความร่วมมือโรงเรียนปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนเปิดภาคเรียน     7. กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก เจ้าหน้าที่และทีมควบคุมโรค ออกพ่นละอองฝอย/หมอกควันเพื่อควบคุมโรค พร้อมสอบสวนโรค และให้สุขศึกษา
    8. รายงานการสอบสวนโรคแก่ผู้บังคับบัญชา     9. ติดตามควบคุมโรคตามแนวทาง 0,3,7 และเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่     10. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกนค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น 3.ชุมชน วัด และโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 10:36 น.