กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ขอเชิญ อปท.สมัครเข้าร่วมโครงการ LTC

by twoseadj @17 ม.ค. 60 09:40 ( IP : 1...252 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 960x720 pixel , 149,999 bytes.

ตามที่สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงการรองรับสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา จึงขอเชิญชวน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจสมัครเข้าร่วมงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Long Term Care) ตามเอกสารและขั้นตอน ดังนี้
1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แสดงความจำนงโดยกรอกรายละเอียดในหนังสือแสดงความจำนงเข้าร่วมงาน
2.การเปิดบัญชีกองทุนบัญชีประเภทออมทรัพย์ ชื่อ "กองทุนดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง" ซึ่งต้องมีผู้ร่วมเปิดบัญชี จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
2.1 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(นายก อบต.หรือนายกเทศมนตรี)
2.2 ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3 เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย(ให้มีหนังสือจาก อปท.เพื่อทำหน้าที่ลงนามเบิกจ่าย)
*** องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปิดเป็นบัญชีกระแสรายวันหรือไม่ก็ได้ เพราะหลักฐานการโอนเงินจากองทุนฯแก่ผู้รับทุน สามารถใช้ใบฝากเงินก็ได้ แต่หากเปิดบัญชีกระแสรายวันจะสามารถจ่ายเป็นเช็คได้
แนวทางการดำเนินงาน LTC
1. ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 อย่างต่อเนื่องโดยเน้นการจัดบริการด้านสาธารณสุขที่บูรณาการกับการบริการด้านสวัสดิการสังคม ที่มีการดำเนินการอยู่ในพื้นที่แล้ว
2. ร่วมกับทีมหมอครอบครัวของหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่ดำเนินการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel  ADL index) และแบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง)  และจัดทำเป็นแผนการดูแลรายบุคคล(Care Plan) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อไป
3. ประสานงานกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพิจารณาจัดหา กำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
4. ประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป
5. สรุปรายชื่อและจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบฟอร์ม LTC 1 ทั้งนี้ ให้ส่งในรูปแบบไฟล์อิเลคทรอนิกส์ จำนวน 1 ชุด ให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อการจัดสรรงบประมาณให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อไป
6. ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ มติ คำสั่ง หรือ แนวปฏิบัติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดขึ้นก่อนหรือระหว่างที่หนังสือแสดงความจำนงนี้มีผลบังคับใช้ และให้ถือว่าข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ มติ คำสั่ง หรือแนวปฏิบัติบัติดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือแสดงความจำนงนี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วม LTC  ดำเนินการดังนี้
1.จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ซึ่งอาจต่อยอดจากศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตที่จัดตั้งจาก พมจ.ตามแนวทางดังนี้ 1.1 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่น ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลคนสูงอายุและคนพิการในชุมชน 1.2 มีอาคารสถานที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของศูนย์ฯ เป็นการถาวร 1.3 บริหารจัดการศูนย์โดยมีกลไกของคณะกรรมการ(มีองค์ประกอบจาก ท้องถิ่น ทีมสหวิชาชีพ ตัวแทนหมู่บ้าน และชมรมผู้สูงอายุ)
1.4 มีการจัดทำแผนเงิน/แผนงบประมาณ และแผนการดำเนินงาน
1.5 มีการกำหนดเวลาทำการหรือเวลาให้บริการของศูนย์ฯ และกำหนดหรือระบุตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ฯ
1.6 มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของศูนย์ฯ
1.7 มีการจัดทำข้อมูลหรือระบบข้อมูลที่จำเป็น
1.8 จัดทำสรุปผลงานหรือรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2.อปท.ออกระเบียบของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนสูงอายุ 3.คณะอนุกรรมการ LTC ออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนในการจัดบริการด้านสาธารณสุขผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง


หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามคุณฐานทิพย์ อัลภาชน์ โทร.089-870-0675