กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย โรงเรียนอิสลามิยะฮ์สหวิทยา มูลนิธิ
รหัสโครงการ 2564-L3310-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอิสลามิยะฮ์สหวิทยา มูลนิธิ
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุหมาด สาระณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารจากการปรุงเพื่อรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคนอกบ้านหรือสั่งอาหารจากสื่อออนไลน์มากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้จำหน่ายอาหารที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจำหน่ายอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษสู่อาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย และยังไม่ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองอีกทั้งยังมีการบริโภคอาหารที่มีราคาถูก อร่อย และรวดเร็ว ฉะนั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดปลอดภัยเนื่องจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและปนเปื้อนสารเคมี และสารพิษลงในอาหารได้และนักเรียนก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
ดังนั้นทางโรงเรียนอิสลามิยะฮ์สหวิทยา มูลนิธิ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนโดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ให้ความรู้แก่ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนและมีการปลูกผักสวนครัวเพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรได้มีการบริโภคผักที่มีคุณภาพไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยมีสุขภาพอนามัยที่ดี นักเรียนครูบุคคลกรและชุมชนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาเผยแพร่ส่งผลถึงนักเรียนที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน ครูนักเรียนและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสุขาภิบาลอาหารปลอดภัย

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 85

0.00
2 ผู้เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายและบริโภคอาหารอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

เพื่อให้ผู้จำหน่ายอาหารมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ ร้อยละ 80

0.00
3 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปฏิบัติและเผยแพร่แก่ผู้อื่น

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปปฏิบัติและเผยแพร่ผู้อื่นได้ ร้อยละ 85

0.00
4 เพื่อจัดทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเปียกจากเศษอาหารและวัชพืช

นักเรียนจัดทำปุ๋ยชีวภาพ จากเศษอาหารและวัชพืช

0.00
5 เพื่อนักเรียน ครู บุคคลกรและชุมชนได้บริโภคผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี

นักเรียน ครู สามารถปลูกผักเพื่อลดการปนเปื้อนสารเคมีเองได้ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 15,000.00 -

1.1 จัดกิจกรรม ตรวจสอบอาหารตามหลักโภชนาการ 1.2 กิจกรรม จัดทำปุ๋ยชีวภาพ /ปุ๋ยพืชสด จากเศษอาหาร และวัชพืชในโรงเรียน 1.3 ปลูกผักสวนครัว /เพาะเห็ดนางฟ้า

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  3. ผู้เข้าอบรมมีการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมทั้งโรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน
  4. มีเครือข่ายดำเนินกิจกรรมอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  5. ปริมาณขยะจากขนมผสมเครื่องปรุงรสและอาหารไม่มีประโยชน์ในโรงเรียนลดน้อยลง
  6. ใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีในโรงเรียนร้อยละ 85
  7. นักเรียนครูและชุมชน มีผักปลอดสารพิษบริโภคร้อยละ 85
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 10:38 น.