กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโกตายุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 2 - 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโกตา
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 49,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปุณณาณี เจ๊ะหนุ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 49,640.00
รวมงบประมาณ 49,640.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านโกตา ได้ให้ความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและบริเวณชุมชนรอบข้าง ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลที่ดีกับนักเรียน และโรงเรียนได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนมาตลอด ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไข ป้องกัน ให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย แม้ว่าที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆที่แก้ไขเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพด้านต่างๆของนักเรียน แต่ก็ยังพบปัญหากับนักเรียน เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก และปัญหาสุขภาพช่องปากแม้ว่าทางโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบนักเรียนประมาณร้อยละ 80 สาเหตุมาจากพฤติกรรมชองนักเรียน ที่ไม่ใส่ใจเรื่องฟันของตนเองและไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหารหรือก่อนนอน จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน และที่ผ่านมาครูได้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า การใช้ห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ถูกต้องและปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนบางส่วนที่ใช้ห้องส้วมตามหลังได้รับความเดือดร้อน ทำความสะอาดยาก ต้องใช้น้ำยาล้างส้วมที่มีสารเคมีมีส่วนผสมซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนที่รับผิดชอบทำความสะอาดห้องส้วม

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านโกตา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เกี่ยวกับภาวะ สุขภาพช่องปาก และการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องส้วม การดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน และการดำเนินการแก้ไขจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก สุขลักษณะการใช้ห้องส้วมที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก สุขนิสัยของการใช้ห้องส้วม การรักษาความสะอาดห้องส้วม

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งเสริม แก้ไขและรักษาที่ถูกวิธี และมีจำนวนนักเรียนฟันผุลดลง
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง กรณีพบฟันผุได้รับการรักษาต่อโดยทันตแพทย์
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟัน และแปรงฟันได้ถูกวิธี
0.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ห้องส้วมของนักเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,640.00 5 42,795.00
1 - 30 เม.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน ครูและบุคลากร 0 1,700.00 1,600.00
1 - 31 พ.ค. 64 ฟันสวยเหงือกแข็งแรง 0 30,230.00 31,045.00
1 - 31 พ.ค. 64 ห้องส้วมสะอาดปราศจากเชื้อโรคปลอดสารเคมี 0 16,710.00 9,150.00
1 - 31 ส.ค. 64 ติดตาม 0 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

ดำเนินการตามกิจกรรม ต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

1.1 ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณ

1.2 ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ 2 ฟันสวยเหงือกแข็งแรง

2.1 ตรวจสุขภาพช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุขหรือครู

2.2 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก

2.3 จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์การแปรงฟันเพื่อสาธิตและรณรงค์แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี

2.4 รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยเปิดเพลงเชิญชวนและมีทีมสภานักเรียนช่วยดูแลและหัวหน้าชั้นบันทึกผลการแปรงฟันในแต่ละวัน

2.5 ควบคุมอาหารหรือขนมที่เป็นอันตรายต่อฟัน โดยการลดหรืองดการขายขนม/เครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อฟันในโรงเรียน และร้านค้าบริเวณโรงเรียน

2.6 จัดทำป้ายทันตสุขศึกษา ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีติดบริเวณจุดที่แปรงฟัน

กิจกรรมที่ 3 ห้องส้วมสะอาดปราศจากเชื้อโรคปลอดสารเคมี

3.1 จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับทำน้ำยาล้างห้องส้วม เพื่อนำมาใช้ในโรงเรียน

3.๒ แนะนำการใช้ห้องส้วม ก่อนใช้และหลังใช้ที่ถูกวิธี

3.3 สาธิตการทำน้ำยาล้างห้องส้วมให้กับนักเรียน

3.4 แนะนำการใช้น้ำยาล้างห้องส้วมให้กับนักเรียน

3.5 แบ่งกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบการล้างห้องส้วมในแต่ละวัน และรายงานความเรียบร้อยทุกวัน

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม

4.1 ตรวจสุขภาพช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุขหรือครู หลังดำเนินกิจกรรม 2 เดือน ส่งต่อนักเรียนเพื่อรับบริการทันตกรรมโดยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาโรคในช่องปาก และประสานกับเจ้าหน้าที่และผู้ปกครองในการพาเด็กไปรับบริการ

4.2 สุ่มตรวจพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและการใช้ห้องส้วมที่ถูกวิธี
  2. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีอัตราฟันผุลดลง
  3. นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ห้องส้วมที่ถูกวิธี และมีวินัยในการใช้ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2564 15:51 น.