กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 64-L5270-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดขนุน
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภิรมร์ อินธนู นางสาวซบีนา กียะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 31,100.00
รวมงบประมาณ 31,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวมภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการในปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้ ดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนวัดขนุน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 3 งาน -ตารางวา สถานที่ของโรงเรียนวัดขนุน ทางทิศตะวันตก อยู่ติดถนน สงขลา-ระโนด ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่เขตชานเมือง มีโรงเรียนอุตสาหกรรมในพื้นที่จำนวน 5 แห่ง

ปัจจุบันโรงเรียนวัดขนุน ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน จำนวน 90 คน มีผู้อำนวยการ 1 คน ข้าราชการครู 5 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน รวมบุคลากร จำนวน 8 คน อาชีพหลักของผู้ปกครอง คือ อาชีพรับจ้างร้อยละ 70 เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 10 ประมงร้อยละ 10 อาชีพค้าขายคิดเป็นร้อยละ 10 สภาพของดินเป็นร่วมปนทราย การคมนาคมสะดวก เพราะติดถนนสายหลัก มีการใช้รถจักรยานจักรยาน จักรยานยนต์ และรถยนต์ การเดินทางและการขนส่งสะดวกมาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สภาพปัญหาในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่พบว่ามีด้านต่างๆได้แก่ ด้านสุขภาพในช่องปาก ด้านภาวทุพโภชนาการด้านโรคไข้เลือดออก ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งมีโรงงานอยู่ในพื้นที่ จำนวน 5 โรง และด้านสารเสพติดและอุบัติเหตุจราจร โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในช่องปาก ด้านภาวทุพโภชนาการ ด้านโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถลดระดับปัญหาลงได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาเร่งด่วนโดยเฉพาะ ด้านอาหารและโภชนาการซึ่งเป็ยนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโต มีสุขภาพที่ดีย่อมเป็นฐานรากที่สำคัญในการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดั้งนันอาหารและโภชนาการจึงเป็นรากฐานของมนุษย์ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยชรา ดังคำกล่าวที่ว่า "กินอย่างไร เป็นเช่นนั้น (You ase what you eat)" อาหารทุกมื้อมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต อาหารกลางวันเป็นอาหารมื้อหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐบาลให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมตามวัย ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน จากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตในนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,620 คน จาก 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2555 พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน จำนวน 187,000 คน เตี้ย จำนวน 254,620 คน และผอม จำนวน 99,112 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนที่เตี้ยและผอม จะมีสติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย นักเรียนที่มีภาวะอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (ณรงค์ สายวงศ์,2557:1)
ในปี 2562 นอกจากโรงเรียนจะดำเนินการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการแล้วโรงเรียนจะเน้นกระบวนการของกิจกรรมให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งการดำเนินการพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้นั้นโรเรียนจะต้องได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ

พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดภาวทุพโภชนาการให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย

นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 สื่อสร้างสรรค์ทันตสุขภาพ 0 18,050.00 18,050.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ห้องน้ำสะอาดปลอดภัย ด้วยสมุนไพรชีวภาพ 0 6,550.00 6,450.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรอยศาสตร์พระราชา 0 6,500.00 6,500.00
รวม 0 31,100.00 3 31,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2564 15:00 น.