กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตดี สังคมเด่น พลังใจเข้มแข็ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเยี่ยมบ้านกลุ่มคนพิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านเป็นการบริการด้านสุขภาพในเชิงรุกอีกวิธีหนึ่งเป็นกลวิธีที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในยุคปัจจุบันในปัจจุบันมีกลุ่มผู้พิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงเป็นจำนวนมากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เป็นชุมชนใหญ่มีผู้พิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 20 ราย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และผู้ป่วยติดบ้านจำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 35 คน ซึ่งเป็นปัญหาในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจการเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีของชุมชนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชนและการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนของการที่เกิดโรคขึ้นมาใหม่และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจด้วย ผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับบางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสะอาดสะดวกปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีสมเกียรติมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่องผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่าจึงได้จัดทำโครงการดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตดี สังคมเด่น พลังใจเข้มแข็ง  ในเขตที่รับผิดชอบขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง(Home Ward / Home Care) และเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแลมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านได้รับการตรวจสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน

1.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อนในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยติดบ้าน

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านที่มีปัญหาเร่งด่วน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และการฟื้นฟูสภาพได้

2.ร้อยละ 99 ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านได้รับการตรวจสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 1 13,000.00
24 ก.พ. 65 กิจกรรมที่1 อบรมให้ความรู้ 0 13,000.00 13,000.00

3.1 ขั้นเตรียมการ - ประสานงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ - ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง - จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย - ประสานชี้แจงผู้ดูแลผู้ป่วย ,อสม.และญาติผู้ดูแลคนไข้ 3.2 ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมอบรมหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านแก่กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 คน - ลงทะเบียนแกนนำครอบครัว ,อสม - จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัว ,อสม ในเรื่องดังนี้   1. เรื่องการใช้แบบประเมินสุขภาพในผู้ป่วยติดบ้าน/เตียง 2. เรื่องแนวทางการดูแลขั้นพื้นฐาน ของผู้ป่วยติดบ้าน/เตียง   3. เรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ 2.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านแบบเชิงรุก - จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุก รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และจัดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการเยี่ยมบ้าน - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.ออกติดตามเยี่ยมบ้านดูแลผู้ป่วยและตรวจสุขภาพทุกเดือน 3.3 ขั้นประเมินผล - ประเมินผลแกนนำครอบครัว ,อสม. มีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านแบบผสมผสาน 3.4 ขั้นสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยติดบ้าน ร้อยละ 100 2.ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านได้รับการตรวจสุขภาพ ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 09:48 น.