กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชนบ้านโคกโตนด ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L3062-001-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอาซีกีม ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแลจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การสั่งพักใช้เพื่อเพิกถอนใบอนุญาตและผู้ที่จะดำเนินการประกอบกิจการต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากิจกรรมดังกล่าวจะไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรืออันตรายต่อสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคและสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมหรือกำกับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว จากการสำรวจร้านอาหาร แผงลอย ร้านชำ ในปี 2563 มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งหมด 28 ร้าน เป็นร้านที่ดำเนินถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 15 ร้าน ร้อยละ 53.57 เป็นร้านที่ดำเนินการไม่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารจำนวน 13 ร้าน ร้อยละ 46.42 สาเหตุเนื่องจากผู้ประกอบการอาหารและผู้สัมผัสอาหารไม่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ร้านอาหารปฏิบัติไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดจึงได้จัดทำโครงการร้านค้าใส่ใจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ผู้บริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาหารสดที่วางจำหน่ายปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ร้านอาหารมีการประเมินผ่าน Clean Food Good Test ร้อยละ 90

60.00 65.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 90

60.00 65.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในร้านที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย

ร้านอาหารมีการประเมินผ่าน Clean Food Good Test ร้อยละ 90

90.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 15,000.00 3 15,000.00
1 ต.ค. 63 - 31 ม.ค. 64 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 0.00
17 - 31 พ.ค. 65 ขั้นดำเนินการ 150 15,000.00 15,000.00
31 พ.ค. 65 สรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการร้านค้าใส่ใจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ผู้บริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค ปี 2564   1.2 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2. ขั้นดำเนินการ   2.1 .ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลร้านอาหาร แผงลอย ร้านชำ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด   2.2 ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอสม.   2.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
3. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของแผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2
2.5 เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
2.6 มอบป้าย Clean Food Good Test แก่ร้านที่ผ่านการประเมิน
  2.7 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข อย.น้อย แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกโตนด 4. ขั้นติดตามประเมินผล 3.1 ดำเนินการตรวจสอบร้านที่ผ่านการประเมิน 1-2 เดือน/ครั้ง 3.2 ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียภายในร้านอาหารซ้ำทุก ๆ ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ในเรื่องด้านสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลปรับปรุงร้านอาหารให้สะอาดถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ร้านอาหารผ่านการประเมิน ส่งผลให้ประชาชนที่ได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย
2 มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน
3 ประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด และผู้สัญจร มีแหล่งอาหารที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อาหารปลอดภัย สามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 11:25 น.