กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายอานีซะห์ ยาหมาย

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 64-L5313-01-06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 9 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 64-L5313-01-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 9 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 32,900.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้นเป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการตั้งครรภ์และการเพิ่มตามธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ของงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2563ที่ผ่านมามีผลงานที่สำคัญและเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ดังนี้คือ 1.ภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 13.58อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 6.56การฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 81การฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 75.56 และการ ตั้งครรภ์วัยรุ่นผลงานอยู่ที่ร้อยละ 17.18 ถึงแม้จะถึงเกณฑ์แต่ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้หาวิธีการเพื่อปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงูขึ้น เพื่อพัฒนาการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กต้องมีการปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสมของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกเพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างเต็มที่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการและให้การดูแลครบมาตรฐาน มีสุขภาพที่ดีและคลอดบุตรแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรค์
  2. ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้ด้านการอนามัยแม่และเด็กสามารถสำรวจ ค้นหา ติดตามกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนพ่อแม่
  2. จัดอบรมความรู้ให้แก่อสม.
  3. กิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนชั้น ป.๕-ป.6

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์และสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว) มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ ที่ดีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ
2.อสม.มีความรู้ และทักษะ ในการให้การดูแลก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 4. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและง่ายสำหรับการเข้าใจสำหรับวัยรุ่น 5. นักเรียนมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศในวัยรุ่น 6. นักเรียนมีเครือข่ายการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียน ในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนพ่อแม่

วันที่ 1 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ร้อยดวงใจสานใยรักในครอบครัว โดยกำหนดการให้บริการดังนี้-วันอังคาร สัปดาห์ที่2 ของเดือน อบรมโรงเรียนพ่อแม่ 1 (อายุครรภ์<28 สัปดาห์) -วันอังคารสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน อบรมโรงเรียนพ่อแม่ 2 (อายุครรภ์ >32 สัปดาห์)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หญิงตั้งครรภ์/สามี/ ผู้ดูแลมีความรู้หลังอบรมโรงเรียนพ่อแม่มากกว่าร้อยละ 80

 

0 0

2. จัดอบรมความรู้ให้แก่อสม.

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมความรู้ให้แก่อสม.เพื่อยกระดับการเป็นอสม.คุณภาพงานแม่และเด็ก ฟื้นฟูความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อสม.ได้รับความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ

 

0 0

3. กิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนชั้น ป.๕-ป.6

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียน ป.5- ป.6 เรื่องเพศศึกษาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกันและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยกำหนดการจัดกิจกรรมโรงเรียนละ 1 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ลดอัตราการเกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรค์
ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแลมีความรู้หลังอบรมโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 80
0.00

 

2 ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้ด้านการอนามัยแม่และเด็กสามารถสำรวจ ค้นหา ติดตามกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ๘๐
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 240
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรค์ (2) ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้ด้านการอนามัยแม่และเด็กสามารถสำรวจ ค้นหา ติดตามกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนพ่อแม่ (2) จัดอบรมความรู้ให้แก่อสม. (3) กิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนชั้น ป.๕-ป.6

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 64-L5313-01-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอานีซะห์ ยาหมาย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด