กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางยะลา
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 – 10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยบริการปฐมภูมิสถานพยาบาลเรือนจำกลางยะลา
วันที่อนุมัติ 18 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 37,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิชาติ ยีสมัน นักทัณฑวิทยาชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 รับทราบรายงานผลการพิจารณาคำร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่องสิทธิของผู้ต้องขังและสิทธิในการได้รับบริการ สาธารณสุขจากรัฐ กรณีการเข้าถึงสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขของผู้ต้องขัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แพทย์สภา และสภาการพยาบาล เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ต้องขังในเรือนจำควรได้รับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอันมีมาตรฐานและประสิทธิภาพที่พึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาประการหนึ่งคือ ผู้ต้องขังถูกแยกตามกองงานในเวลาทำการและในห้องขังในช่วงเวลากลางคืนประกอบกับบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนไม่เพียงพออาจทำให้ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพตามสิทธิของตนได้และเกิดความล้าช้าหรือไม่ทันการรักษา ผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จึงได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ปี พุทธศักราช 2561 ขึ้น เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เฝ้าระวัง คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ดูแลช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในกลุ่มผู้ต้องขัง การจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ ให้ทำหน้าที่ คัดกรองเบื้องต้น รวมถึงการส่งเสริมและป้องกันโรคอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและเสมอภาค จึงเป็นแนวทางสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ (อสรจ.) เรือนจำกลางยะลา มีเจ้าหน้าที่พยาบาล 2 คน ในจำนวน 2,279 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 เมษายน 2564) ซึ่งอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ต้องขังทั้งหมด ทั้งนี้มี อสรจ. จำนวน 60 คน ดูแลผู้ต้องขังอัตรา 1/50 คน ซึ่งผู้ต้องขังเรือนจำกลางยะลามีอาการป่วยเป็นจำนวนมาก ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ปัญหาสุขภาพจิต และอื่นๆ ซึ่งพยาบาลไม่สามารถดูแลควบคุมผู้ต้องขังได้ทั้งหมด จากข้อมูลสุขภาพ ในปี 2563 พบว่าผู้ต้องขังป่วยด้วยโรควัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซํ้าที่นํามาประเมินอัตราความสําเร็จการรักษา รักษาหาย/รักษาครบ จํานวน 10 ราย ร้อยละ 100 อยู่ระหว่างการรักษา 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 70 ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องผู้คุมขังชายจำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.50 ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องผู้คุมขังหญิง จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.3 ส่วนการคัดกรองโรคไม่ติดต่อพบว่า ผู้คุมขังชายทั้งหมด 1,972 รายพบ ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 91 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.61 พบป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งหมด 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.70 คุมขังหญิงทั้งหมด 150 ราย พบป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.30 พบป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.6 (เรือนจำกลางยะลา,2563) สถานพยาบาลจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางยะลา เพื่อให้ อสรจ. สามารถเข้าใจเรื่องโรคและปัญหาของผู้ต้องขัง การดูแลรักษาอาการเบื้องต้นตลอดจนเฝ้าระวัง การดูแลสุขภาพ ควบคุมโรค ป้องกันโรคเบื้องต้นในเรือนจำได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อผลิตและพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน โดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน และชุมชนตามบริบทของเรือนจำ
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. มีความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) สามารถนำความรู้ด้านสุขภาพไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเฝ้าระวัง และถ่ายทอดความรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลช่วยเหลือเพื่อนผู้ต้องขังกลุ่มป่วยเบื้องต้น ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ต้องขังในชุมชนบริบทของเรือนจำ
  1. มีทักษะความรู้การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการ    กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Emergency First Aid and        Basic Life Support Training Course) ร้อยละ 90
  2. มีความรู้การดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต/จิตเวช และ  ผู้ที่ใช้สารเสพติด ร้อยละ 80
0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) มีบุคลิกภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรมและวินัยในตนเอง มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับงานอาสาสมัคร
  1. มีทักษะการสื่อสารและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ
  2. มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพพื้นฐานในผู้ป่วย      ติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ร้อยละ 80
0.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) ตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ในชุมชนเรือนจำ สำนึกในความเป็นไทย และเสียสละเพื่อส่วนรวม
  1. มีความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กเบื้องต้น ร้อยละ 80
  2. มีความรู้การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและ        ภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญ ร้อยละ 80
  3. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม/โครงการ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,545.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) อบรมให้ความรู้เรื่องด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (ทฤษฎี 3 ชั่วโมง ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง) จำนวน 45 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน รวม 50 คน จำนวน 5 วัน 0 37,545.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การประชุมสรุปและประเมินผลภาวะสุขภาพของผู้ด้อยโอกาส 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) ที่เหมาะสม
  2. สามารถเป็นแกนนำในงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพตลอดจนเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นได้
  3. สามารถสื่อสารโน้มน้าวให้ผู้ต้องขังตื่นตัวและรับผิดชอบต่อตนเองในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพตนเอง ชุมชนและสภาพแวดล้อมของสังคม
  4. สามารถสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ต้องขังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของตนเองและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564 10:52 น.