กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านด้วยคุณภาพ ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 99,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง มีผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องเยี่ยมบ้านโดยสหวิชาชีพ ในปี 2564 โดยจำนวนผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้าน 549 คน มีผู้ป่วยดีขึ้นเปลี่ยนกลุ่ม 16 คน คิดเป็นร้อยละ 2.91 ดีขึ้นจำหน่าย 30 คน คิดเป็นร้อยละ7.10 รวมดีขึ้น 46 คน คิดเป็นร้อยละ 10.83 แล้วมีผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดดังนี้ อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมบ้าน คิดเป็นร้อยละ 98.9 อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช. ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน 14 วัน คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนชั่วโมงการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์/คน คิดเป็นร้อยละ 100 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (แผลกดทับ) ของผู้ป่วยไม่เกินคิดเป็นร้อยละ 2.89 ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถควบคุมภาวะโรคดูแลตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 81.25 ความพึงพอใจของทีมเยี่ยมและผู้รับบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน โดยแบ่งตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและความต้องการ การช่วยเหลือที่บ้าน มีทั้งผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนได้ (กลุ่ม 1 ) จำนวน 155 คน ช่วยตนเองได้เล็กน้อย (กลุ่ม 2) จำนวน 220 คน ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (กลุ่ม 3) จำนวน 174 คน และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือทำหัตถการทั้งสิ้น 93 หัตถการ/คน โดยแยกเป็น Nasogastric tube(NG) 40 คน Foley’s cath 23 คน Tracheostomy ๑9 คน แผล Colostomy 5 คน อื่นๆ 6 คน และมีผู้พิการ 497 คน แยกเป็นผู้พิการทางการมองเห็น 25 คน ผู้พิการทางการได้ยิน/สื่อความหมาย 63 คน ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว/ร่างกาย ๓06 คน ผู้พิการทางจิตใจ/พฤติกรรม 35 คน ออทิสติก 5 คน ผู้พิการทางสติปัญญา 51 คน ผู้พิการทางการเรียนรู้ 3 คน ผู้พิการซ้ำซ้อน 9 คน โดยผู้ดูแลบางส่วนยังขาดความรู้และทักษะ ในการดูแลตามสภาพผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย ฟื้นฟูสภาพและดูแลผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับสุขภาพร่างกายและไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ซับซ้อนมากขึ้น และจากการดำเนินงานและวิชาการใหม่ๆ พบว่าผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางสายยางนั้นต้องมีการถอดเปลี่ยนสายทุก  3 – 4 สัปดาห์ แต่ปัจจุบัน ได้มีสายยางซิลิโคนซึ่งในสามารถใส่และถอดเปลี่ยน 2 – 3 เดือน และการดูแลรักษาพร้อมทั้งการเจ็บป่วยในการใส่นั้นง่ายขึ้น แต่สายยางดังกล่าวไม่สามารถใช้สิทธิใดๆ ในการเบิกได้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ จึงได้จัดทำ “ โครงการเยี่ยมบ้านด้วยคุณภาพ ปี 2565 ” ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการดูแลแบบองค์รวมและผู้ดูแลได้มีความรู้ที่ถูกต้อง และได้มีอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการดูแล เพื่อจะได้ฟื้นฟูสภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ป่วยและสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ แบบองค์รวมและเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ

มีข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย Home Health Care  พร้อมทั้งแยกระดับถูกต้องครบถ้วน มีข้อมูลพื้นฐานผู้พิการ พร้อมทั้งแยกประเภทอย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วย Home Health Care และผู้พิการ ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์คุณภาพตามตัวชี้วัดของการเยี่ยมบ้าน

เกิดคุณภาพการเยี่ยมบ้านที่ได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ - ตัวชี้วัดที่ ๑  อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านร้อยละ 100 - ตัวชี้วัดที่ ๒  อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช. ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน ๑๔ วัน ร้อยละ 100 - ตัวชี้วัดที่ 3  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน(แผลกดทับ)ของผู้ป่วยที่บ้านไม่เกินร้อยละ 1 - ตัวชี้วัดที่ 4  ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถควบคุมภาวะโรค/ดูแลตนเองได้ร้อยละ 85 - ตัวชี้วัดที่ 5  อัตราการเกิดอุบัติการณ์ตกเตียงของผู้ป่วยที่บ้าน ร้อยละ 0 - ผู้พิการได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 99,270.00 3 24,300.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ดูแล/อสม. ที่มีหัตถการต่างๆ 120 22,050.00 16,680.00
7 ม.ค. 65 การดูแล/ตรวจสุขภาพและเยี่ยมผู้ป่วยที่มีหัตถการที่บ้าน เยี่ยมผู้พิการที่บ้าน และผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน 0 53,170.00 600.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพ 160 24,050.00 7,020.00
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนผู้ป่วย Home Health Care และผู้พิการ ในชุมชนทั้งรายเก่า/รายใหม่
  2. จัดประชุมทีมงานสหวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วย และผู้พิการรายกรณีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. จัดอบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ดูแล/อสม.
  4. กิจกรรมการดูแล/ตรวจสุขภาพและเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน
  5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพ
  6. ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วย Home Health Care / ผู้พิการ / ผู้ดูแล และอสม. ได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง และผู้ป่วย อย่างถูกต้อง และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน มีฐานข้อมูลพร้อมรายละเอียดของผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้าน พร้อมทั้งการดูแลเยี่ยมบ้านมีคุณภาพตามเกณฑ์ตัวชี้วัด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 10:27 น.