กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หมู่บ้านเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เชิงรุก หมู่ที่7
รหัสโครงการ 65-L5310-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่7 บ้านนาข่าใต้ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 มกราคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 40,023.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกริยา แดงหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะกล้า
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 40,023.00
รวมงบประมาณ 40,023.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 423 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรสโคโรนา2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรนาหรือ Covid-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งพบการระบาดทุกพื้นที่ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก กระจายไปยังทุกพื้นที่เป็นบริเวณกว้างจนยากที่จะควบคุมได้ ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ สังคมและเศรษฐกิจ ตัวเชื้อไวรัส Covid-19 มีการพัฒนากลายพันธุ์ตลอดเวลา ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง หรือบางรายอาจไม่เเสดงอาการ ปัจจุบันแม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้ที่มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มตนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัส แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันและควบคุมโรคให้หมดได้ 100%ได้
หมู่ที่7 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล มีประชากร 423 คน มีจำนวน122 หลังคาเรือน(ข้อมูลทะเบียนราษฎ์อำเภอละงู) ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 จากสถานการณ์โรคโควิดตำบลเขาขาว ณ วันที่ 4 มกราคม 2565 พบว่า ตำบลเขาขาวมีผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งเเต่เดือนเมษายน พ.ศ.2564 จำนวนจำนวน 233 ราย (ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 อำเภอละงู ณ วันที่ 4 มกราคม 2565)และมีเเนวโน้มการระบาดที่ไม่แน่นอนในอนาคต คณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ที่ 7 ต.เขาขาว ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 เชิงรุกในหมู่บ้าน แก้ไขสถานการณ์โรตติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(Covid-19)ได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิมและปกติสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้านได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

ร้อยละของครัวเรือนได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้าน ได้อย่างรวดร็วและทันต่อเหตุการณ์

100.00 80.00
2 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ  ทั้งทางกาย จิต สังคมและปัญญาลดลง

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,023.00 4 40,023.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฆ่าเชื้อในครัวเรือนกรณีมีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้าน รวมถึงจุดเสี่ยงในชุมชน 0 30,573.00 30,573.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่4 กิจกรรมคัดแยกขยะติดเชื้อในชุมชน 0 1,750.00 1,750.00
15 - 31 ม.ค. 65 กิจกรรมที่1อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่คณะกรรมการและคณะทำงานของโครงการเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา๒o๑๙ เชิงรุกในหมู่บ้าน 0 6,700.00 6,700.00
15 - 31 ม.ค. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเชิงรุกในหมู่บ้าน 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเชิงรุกในหมู่บ้านได้รวดเร็วและทันต่เหตุการณ์ 2.ลดปัญหาครัวเรือนได้รับผลกระทบทางสุขภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจสังคมและปัญญา 3.อัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒o๑๙ ในหมู่บ้านลดลง 4.ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์กลับมาประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565 13:55 น.