กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L3351-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 10,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนูอั้น ไข่ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 629 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านขายของชำในชุมชน จำหน่ายอาหารเสื่อมคุณภาพ หมดอายุ (ร้าน)
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลงผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงาน ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และต้องใช้เวลาในการย่อยสลายซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบและขบวน การกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้ ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ การบริโภคอาหารที่ใส่กล่องโฟม เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ 2,739 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 629 หลังประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้าง เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน วิถีชีวิตชนบทโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นในบริบทพื้นที่ชุมชน ครอบคลุม ร้านขายของชำในชุมชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนสุขภาพที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัว ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน

แกนนำสุขภาพครอบครัวมีองค์ความรู้และศักยภาพ ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน

289.00 626.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน

เครือข่ายมีความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน

15.00 20.00
3 เพื่อพัฒนาร้านชำผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ

ร้านชำได้รับการพัฒนาผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพทุกร้าน

18.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,900.00 3 10,900.00
21 มี.ค. 65 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ 0 10,900.00 10,900.00
11 - 13 พ.ค. 65 ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ 0 0.00 0.00
22 มิ.ย. 65 เรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพครอบครัว ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ทักษะ การเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ทุกคน
  2. ไม่พบสารต้องห้ามในร้านอาหารทุกร้าน
  3. ร้านชำทุกร้านมีคะแนนผ่านการประเมินร้านชำคุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 00:00 น.