กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะและสุขภาพ สำหรับผู้พิการและครอบครัว
รหัสโครงการ L5300-65-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 30,935.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมบูรณ์ สุวาหลำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
80.00
2 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรภาคประชาชน ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล ในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้พิการและผู้ดูแลให้เข้าถึงสิทธิและให้ได้มาด้วยสิทธิอันพึงจะได้รับตามกฎหมาย ในทุกด้านรวมถึงการฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพผู้พิการตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย รวมถึงคุณภาพชีวิตของครอบครัวคนพิการและผู้ดูแลให้ดีขึ้น อยู่ร่วมสังคมอย่างปกติสุข และในปัจจุบันมีเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม

จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้สู่สังคมภายนอก อันเนื่องมาจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอกที่นอกเหนือจากบ้านพักและชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของเขาแต่ละบุคคล มีปัญหาในด้านสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม ประกอบกับความยากลำบากด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙ ทำให้เข้ารับบริการไม่ได้ ดังนั้นครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้พิการ เพื่อพัฒนาหรือรักษาทักษะให้คงอยู่กับผู้พิการ โดยการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนในด้านต่างๆ ทั้งความรู้ ทักษะวิธีการ เทคนิคการสอนจากสื่อต่างๆ ควบคู่กับการฝึกทักษะง่ายๆในชีวิตประจำวันตามความสามารถเฉพาะบุคคล
ดังนั้น ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษ จึงริเริ่ม“โครงการส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะและสุขภาพ สำหรับผู้พิการและครอบครัว” ขึ้น เพื่อให้ครอบครัวผู้พิการมีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด - ๑๙ เทคนิควิธีการสอนจากสื่อต่างๆ ในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้พิการให้ดีขึ้น ตามความสามารถและศักยภาพผู้พิการรายบุคคล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

80.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

25.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 นำสื่อไปใช้กับผู้พิการ เพื่อจัดกิจกรรมการฝึกอ่านภาพ อ่านคำและสะกดคำ(1 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00              
รวม 0.00
1 นำสื่อไปใช้กับผู้พิการ เพื่อจัดกิจกรรมการฝึกอ่านภาพ อ่านคำและสะกดคำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 2 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 นำสื่อไปใช้พัฒนาผู้พิการออทิสติก 25 0.00 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามความก้าวหน้าในการใช้สื่อ ปรับปรุง แก้ไข การจัดกิจกรรม 25 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,815.00 2 31,935.00
1 มี.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 การจัดทำและผลิตสื่ออุปกรณ์ การพัฒนาทักษะในด้านต่างๆของผู้พิการ 0 18,145.00 18,145.00
1 เม.ย. 65 - 31 พ.ค. 65 การจัดอบรม ครู อาสาสมัคร และผู้ดูแล ผู้พิการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด – ๑๙ และการใช้สื่ออุปกรณ์ พัฒนาผู้พิการตามศักยภาพรายบุคคล เพื่อนำไปฝึกผู้พิการ 0 12,670.00 13,790.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. สื่อพัฒนาทักษะทางร่างกายทางสติปัญญาและทางการพูดและภาษา ๑.๑สื่อกายอุปกรณ์ม้าโยกจำนวน๓ตัว
๑.๒สื่อภาพเคลื่อนไหว๙หมวดๆละ๑๐ชิ้นจำนวน๒ชุดรวมเป็น๑๘๐ชิ้น ๑.๓สมุดภาพและแบบฝึกอ่านอย่างละ๕เล่มและแบบฝึกเขียน๓แบบๆละ๑๐เล่มรวมเป็น๔๐เล่ม ๒. ครูอาสาสมัครและผู้ดูแลผู้พิการร้อยละ ๑๐๐มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด- ๑๙และการใช้สื่ออุปกรณ์พัฒนาผู้พิการตามศักยภาพรายบุคคล ผลลัพธ์
ครูอาสาสมัครและผู้ดูแล มีนำความรู้ที่ได้ปรับใช้ในในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด – ๑๙และนำสื่อที่ได้รับจัดกิจกรรมพัฒนาผู้พิการตามศักยภาพของผู้พิการทำให้ผู้พิการมีพัฒนาการทางร่างกายและลดพฤติกรรมการเคลื่อนไหวซ้ำๆของข้อต่อส่งผลให้ผู้พิการมีบุคลิกภาพและสุขภาพดีขึ้นเต็มศักยภาพของผู้พิการตามแผนพัฒนาศักยภาพผู้พิการรายบุคคลรวมถึงทักษะการพูดและการใช้ภาษาบอกความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นทราบและผู้พิการสามารถดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 00:00 น.