กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กวัยเรียน เรียน เล่น เน้นสุขภาพโรงเรียนบ้านแม่ยางร้องปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัชชัย วังคะออม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
26.97
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรง ของร่างกายในการทำ กิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำ งาน/ งานบ้าน 2) การเดินทาง 3) การมีกิจกรรมนันทนาการกีฬา และการออกกำลังกาย ทั้งนี้ในแต่ละวันสามารถแบ่งการมีกิจกรรมทางกายออกเป็นช่วงเวลาต่างๆ แล้วนำ มานับรวมกันได้โดยในแต่ละช่วงเวลาย่อยๆ นั้น จะต้องมีระยะเวลาของการ มีกิจกรรมทางกายติดต่อกันอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป ถึงจะพอเพียงให้มีการกระตุ้น การทำงานของหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ดังตัวอย่างการแบ่งการมีกิจกรรม ทางกายในวัยผู้ใหญ่ เช่น การมีกิจกรรมทางกายช่วงเช้าด้วยการเดินอย่างเร็วมา ทำงาน ระยะเวลา 15 นาที ช่วงเที่ยงเดินเร็วๆ ไปรับประทานอาหารระยะเวลา 10 นาทีช่วงเย็นเลิกงานเดินกลับบ้านระยะเวลา 15 นาทีจะได้กิจกรรมทางกายระดับ 7 ปานกลางจากการเดินเร็วรวม 40 นาทีใน 1 วัน หากทำ เช่นนี้ทุกวันทำ งาน ก็จะทำ ให้มีกิจกรรมทางกายถึง 200 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งจากตัวอย่างการมีกิจกรรม ทางกายข้างต้นในวัยผู้ใหญ่ นับว่ามีความเพียงพอ และหากจะให้มีสุขภาพดีมากขึ้น ก็อาจมีการออกกำลังกายระดับหนักร่วมด้วย นอกจากนี้ การออกกำ ลังกล้ามเนื้อ ส่วนอื่นให้มีการยืดเหยียดเพิ่มขึ้นด้วยการแอโรบิกในวันศุกร์อีก 60 นาทีหรือการเล่น ไทเก็กอีก 60 นาทีก็จะเป็นการเพิ่มการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ ในการช่วยเดิน จากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ ที่ผ่านมาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าในภาพรวมระดับประเทศทิศทางการมี กิจกรรมทางกายของคนไทยมีแนวโน้มโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 66.30 ในปี 2555 (ปีฐานของการสำ รวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.60 ในปัจจุบัน (พ.ศ.2562) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่าในภาพรวม มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทุกกลุ่ม อายุยกเว้นกลุ่มวัยทำงานที่มีการลดลงของระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และด้วยสัดส่วนของประชากรวัยทำงานที่เป็นกลุ่มส่วนใหญ่จึงทำ ให้อัตราการเพิ่มของระดับการมีกิจกรรมทางกายในภาพรวมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้จะพบว่ากลุ่มประชากรอีก 3 กลุ่มที่เหลือคือวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยสูงอายุจะมีการเพิ่มขึ้น เฉลี่ยสูงถึง ร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 4โดยกลุ่มประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเพิ่มขึ้นของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
อย่างไร ก็ตาม แม้กิจกรรมทางกายจะเพิ่มขึ้นในเชิงบวก แต่ด้วยสถานการณ์มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตทำ ให้สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงไปประมาณร้อยละ 11.6 ทำ ให้ระดับการมีกิจกรรมทางกาย ที่เพียงพอของคนไทยในปี2563 มีประมาณร้อยละ 55.5 เท่านั้น (แผนส่งเสริม กิจกรรมทางกาย สสส., 2564) จากการสำรวจข้อมูลนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง มีการศึกษา 2565 จำนวน 89 คน(เด็กปฐมวัย จำนวน 21 คน และเด็กนักเรียนประถมศึกษา จำนวน 68 คน) พบว่า มีเด็กที่มีกิจกรรมทางกายในระดับพอเพียง คือมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน จำนวน29 คน คิดเป็นร้อยละ 32.58ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง และการเจ็บป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โดยมีโอกาสเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจร้อยละ 30 โรคเบาหวาน ร้อยละ 27 โรคมะเร็งลำ ไส้ร้อยละ 25 โรคมะเร็งเต้านมร้อยละ 21 โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 6 และมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายสูงถึงร้อยละ 20-30 ส่วนพฤติกรรมเนือยนิ่ง ก็มีความสัมพันธ์กับอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน เป็นต้น โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัย เรียน เล่น เน้นสุขภาพ โรงเรียนบ้านแม่ยางร้องปีงบประมาณ 256๕ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในช่วงวัยอีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสังคมพัฒนาทักษะที่จำเป็นตามช่วงวัยและกระตุ้นการเรียนรู้รวมทั้งเสริมความแข็งแรงและป้องกันภาวะโรคอ้วนในเด็กอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่เด็กปฐมวัยและระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง

1.ร้อยละ 60 ของเด็กปฐมวัยและระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(วันละอย่างน้อย 60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน)

26.97 60.00
2 2.โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง มีการจัดการ การเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active learning)

1.ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) เพิ่มขึ้น

15.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 277 9,225.00 6 9,225.00
1 ก.พ. 65 - 23 ก.ย. 65 1.ปรับปรุงพื้นที่ และจัดเตรียมพื้นที่ในการสร้างถนนการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำกิจกรรมทางกาย 99 5,000.00 5,000.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 2.จัดทำสื่อการเรียนรู้กิจกรรมทางกาย 89 2,000.00 2,000.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 3.จัดทำคู่มือความรู้และบันทึกกิจกรรมทางกาย 89 2,225.00 2,225.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 4.กิจกรรมเคลื่อนไหวร้องเล่น เต้น รำมวยไทย ตบมะผาบ (กิจกรรมพื้นบ้าน) 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 5.ปฏิบัติกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน 0 0.00 0.00
24 ส.ค. 65 ประเมินผลกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยและระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(วันละอย่างน้อย 60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน) 2.โรงเรียนบ้านแม่ยางร้อง มีการจัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
3.นักเรียนมีสมรรถภาพร่างกายหลังการจัดกิจกรรมดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 13:03 น.