กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมมือ ร่วมใจ เด็กก่อนวัยเรียน ฟันดี
รหัสโครงการ 65-L5273-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 48,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
รวมงบประมาณ 48,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2563 ปีการศึกษา 2562 ของงานเฝ้่าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล้ก ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฉลุง จำนวน 4 แห่ง มีเด็กทั้งหมด 289 คน มีอัตราการเกิดโรคฟันน้ำนมผุ จำนวน 145 คน พบว่าเด็กยังมีปัญหาฟันน้ำนมผุสูงกว่าสำรวจ ในขณะที่เด็กที่ไม่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ มีเพียง 82 คน ศูนย์เด็กเล็กที่มีปัญหาทันตสุขภาพ ดังนี้ ศพด.บ้านโคกขี้เหล็ก ศพด.บ้านไร่อ้อย ศดม.บ้านหน้าควน ศดม.ฮีดายาตุลอิสลามียะ เห็นว่าโรคปัญหาโรคฟันผุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการช่วยเหือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครูผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กใน ศพด. จำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงต การตรวจสุขภาพ ช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา การติดตาม ประเมินผล ทางฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.สต.ฉลุง ร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ฉลุง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึง ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้กิจกรรมแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพในเด็กเล็ก และพัฒนาศักยภาพการแปรงฟันในเด็กเล็กแก่ผู้ปกครองด้วยวิธี Horizontal scrub อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองได้เข้ารับการอบรมเรื่องทันตสุขภาพในเด็กเล็ก ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีผ่านโมเดลฟันและฝึกปฏิบัติจริง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 6,850.00                  
2 กิจกรรมอบรมทันตสุภาพ(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 41,150.00                  
รวม 48,000.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,850.00 1 6,850.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 6,850.00 6,850.00
2 กิจกรรมอบรมทันตสุภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 210 41,150.00 1 41,150.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมทันตสุขภาพ 210 41,150.00 41,150.00

วิธีการดำเนินงาน กลวิธีที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูผูู้ดูแลเด็ก กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็เล็กและผู้รับผิดชอบงาน ศพด. ของ อบต.ฉลุง เรื่องการเฝ้าระวังด้านทันตสุขภาพและตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กในวัยเรียน 1.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.ครูผู้ดูแลเด็กแต่ละศูนย์ค้นหาปัญหาด้านทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์รับผิดชอบของตนเอง 3.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่ด้านทันตสุขภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องปัญหาทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เรื่องวิธีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในเด็กก่อนวัยเรียนโดยครูผู้ดูและเด็ก 4.ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนที่พบบ่อยจากตัวอย่างภาพประกอบที่ผู้รับผิดชอบโครงการจัดเตรียมมาให้ 5.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 6.สรุปผลการอบรม กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.หาดใหญ่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน 3.ผู้ปกครองฝึกปฏิบัติการแปรงฟันของบุตรหลานตนเอง 4.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 5.สรุปผลการอบรม กลวิธีที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนใน ศพด.บ้านโคกขี้เหล็ก กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.จัดทำแผนการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนร่วมกับครูผู้ดูแลเด็กใน ศพด. 2.เตรียมคู่มือติดตามการดูแลช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 3.ตรวจช่องปากด็กก่อนวัยเรยนใน ศพด. 4.ทาฟลูออไรด์วานิช 5.แบ่งประเภทกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนใน ศพด. ตามเกณฑ์ฟัน 3 สี ดังนี้ -ฟันสีเขียน ฟันดีไม่มีผุ ติดตามทุก6เดือน -ฟันสีเหลือง ฟันดีแต่มีขาวขุ่น นัดเคลือบฟลูออไรด์ทุก 3 เดือน -ฟันสีแดง ฟันผุ ส่งต่อให้รับบริการทันตกรรม ด่วน กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยกิจกรรมประกอบด้วย 2 ฐาน ฐานที่ 1 ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร กิจกรรมดังนี้ -คืนข้อมูลผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนให้กับผู้ปกครอง -ประเมินความรู้และทัศนคติก่อนอบรมของผู้ปกครอง โดยทำแบบทดสอบวัดความรู้และทัศนคติ -อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่อง ความสำคัญของฟันน้ำนม อาหารที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก สาเหตุ/ระยะเวลาการเกิดโรคฟันผุ/แนวทางการรักษาโรคฟันผุในแต่ละระยะ การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ -แจกสมุดติดตามการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียนแก่ผู้ปกครอง -แจ้งวิธีการบันทึกข้อมูลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนแก่ผู้ปกครอง คู่มือติดตามการดูแลช่องปากเด้กเล็กที่ผู้จัดทำโครงการเตรียมให้หลังจากได้รับการอบรมในระยะเวลา 1 เดือน -แจ้งครูผู้ดูแลเด็กติดตามการบันทึกข้อมูลของผู้ปกครองตามคู่มือติดตามที่ผู้จัดทำโครงการเตรียมให้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ฐานที่ 2 แปรงฟันดี ชีวีเป็นสุข โดยมีกิจกรรมดังนี้ -สอนการแปรงฟันของเด็กที่ถูกวิธีให้กับผู้ปกครองด้วยวิธี Horizibtak scrub คือวางแปรงในแนวนอน และขยับสั่น ๆ ในแนวนอน โดยสาธิตผ่านโมเดลฟันหรือตุ๊กตาสอนแปรงฟัน -ผุ้ปกครองฝึกปฏิบัติแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธีด้วยวิธี Horizibtak scrub คือวางแปรงในแนวนอน และขยับสั้น ๆ ในแนวนอน โดยให้ฝึกแปรงฟันจริง โดยการแปรงฟันให้กับเด็กทำการย้อมคราบจุลินทรีย์ -ประเมินการแปรงฟันด้วยวิธี Horizibtak scrub คือวางแปรงในแนวนอน และขยับสั้น ๆ ในแนวนอน ซึ่งผู้ปกครองทุกคนสามารถแปรงฟันให้กับเด็กได้อย่างถูกวิธี การประเมินการแปรงฟันของผู้ปกครองพิจารณาจากการวางแปรง การขยับแปรง และความทั่วถึง -ประเมินความรู้และทัศนคติหลังอบรมของผู้ปกครอง โดยทำแบบทดสอบวัดความรู้และทัศนคติ -สรุปผลการทำกิจกรรม กลวิธีที่ 3 กิจกรรมติดตาม -สรุปคู่มือการติดตามการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่ดีด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กที่อยู่ในความดูแล 2.ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองช่องปากเบื้องต้นของนักเรียน 3.เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันดี 4.เกิดภาคีเครือข่ายร่วมกัน ระหว่างครุผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถดำเนินการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2565 17:30 น.