กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมทันตสุขภาพ1 กุมภาพันธ์ 2565
1
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรยนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม -บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.หาดใหญ่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน -ผู้ปกครองฝึกปฏิบัติการแปรงฟันของบุตรหลานตนเอง -ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.กิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกขี้เหล็ก 2.1  เฝ้าระวังทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกขี้เหล็ก -จัดทำแผนการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนร่วมกับครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -เตรียมคู่มือติดตามการดูแลช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม -ตรวจช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ทาฟลูออไรด์วานิช -แบ่งประเภทกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามเกณฑ์ฟัน 3 สี  คือ ฟันสีเขียว ฟันดีไม่มีผุ ติดตามทุก 6 เดือน  ฟันสีเหลือง  ฟันดีแต่มีขาวขุ่น  นัดเคลือบฟลูออไรด์ทุก 3 เดือน  ฟันสีแดง ฟันผุ ส่งต่อให้รับบริการทันตกรรม ด่วน 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการ  โดยกิจกรรมประกอบด้วย 2 ฐาน ฐานที่ 1 ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร โดยมีกิจกรรม -คืนข้อมูลผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนให้กับผู้ปกครอง -ประเมินความรู้และทัศนคติก่อนอบรมของผู้ปกครอง โดยทำแบบทดสอบวัดความรู้และทัศนคติ -อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่อง ความสำคัญของฟันน้ำนม อาหารที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก สาเหตุ/ระยะเวลาการเกิดโรคฟันผุ/แนวทางการรักษาโรคฟันผุในแต่ละระย  การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ -แจกสมุดติดตามการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียนแก่ผู้ปกครอง -แจ้งวิธีการบันทึกข้อมูลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนแก้ผู้ปกครองตามคู่มือติดตามการดูแลช่องปากเด็กเล็กที่ผู้จัดทำโครงการเตรียมให้หลังจากได้รับการอบรมในระยะเวลา 1 เดือน -แจ้งครูผู้ดูแลเด็กติดตามการบันทึกข้อมูลของผู้ปกครองตามคู่มือติดตามที่ผู้จัดทำโครงการเตรียมไว้ ฐานที่ 2 แปรงฟัน ชีวีเป็นสุข มีกิจกรรมดังนี้ -สอนการแปรงฟันของเด็กที่ถูกวิธีให้กับผู้ปกครองด้วยวิธี Horizontal scrub คือวางแปรงในแนวนอน และขยับสั้น ๆ ในแนวนอน โดยสาธิตผ่านโมเดลฟันหรือตุ๊กตาสอนแปรงฟัน -ผู้ปกครองฝึกปฏิบัติแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธีด้วยวิธี Horizontal scrub คือ วางแปรงในแนวนอน และขยับสั้น ๆ ในแนวนอน โดยให้ฝึกแปรงฟันจริง โดยการแปรงฟันให้กับเด็กทำการย้อมคราบจุลินทรีย์ -ประเมินการแปรงฟันด้วยวิธี Horizontal scrub คือ วางแปรงในแนวนอน และขยับสั้น ๆ ในแนวนอน  ซึ่งผู้ปกครองทุกคนสามารถแปรงฟันให้กับเด็กได้อย่างถูกวิธี การประเมินการแปรงฟันของผู้ปกครองพิจารณาจากการวางแปรง การขยับแปรง และความทั่วถึง -ประเมินความรู้และทัศนติหลังอบรมของผู้ปกครอง โดยทำแบบทดสอบวัดความรู้และทัศนคติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งของสังกัด อบต.ฉลุงมีการดำเนินกิจกรรมแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ในเด็กนักเรียนทุกวัน โดยให้ครูผู้ดูแลเด็กควบคุมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของนักเรียนในห้องของตนเองและบันทึกการแปรงฟันของเด็กนักเรียนที่ตนรับผิดชอบ พร้อมทั้งตรวจความสะอาดหลังการแปรงฟันทุกครั้ง จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100  และผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เข้ารับการอบรมเรื่องทันตสุขภาพในเด็กเล็กตามเป้าหมายโครงการ  จำนวน  100  คน  คิดเป็นร้อยละ 100  ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะการแปรงฟันให้บุตรหลานผ่านการฝึกจากตุ๊กตาแปรงฟัน และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงให้บุตรหลาน ตามเป้าหมายโครงการ  จำนวน  100 คน คิดเป็นร้อยละ 100

อบรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก1 กุมภาพันธ์ 2565
1
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  คือ คณะครูผู้ดูแลเด็กและผู้รับผิดชอบงานศูนย์เด็กเล็กของ อบต.ฉลุง  และวิทยากรด้านทันตสุขภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 3.ครูผู้ดูแลเด็กแต่ละศูนย์ค้นหาปัญหาด้านทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์รับผิดชอบของตนเอง 4.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่ด้านทันตสุขภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องปัญหาทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน  และวิธีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในเด็กก่อนวัยเรียนโดยครูผู้ดูแลเด็ก 5.ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนที่พบบ่อยจากตัวอย่างภาพประกอบที่ผู้รับผิดชอบโครงการจัดเตรียมมาให้ 6.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครูผู้ดูแลเด็กของ ศพด. อบต.ฉลุง ได้มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังด้านทันตสุขภาพและตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100  กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล แนะนำ และการฝึกตรวจช่องปากเด็กนักเรียนเบื้องต้นได้ ในระดับดี ร้อยละ 85