กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวโภชนาการดี สูงดีสมส่วน
รหัสโครงการ 65-L2971-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนิดา สาโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 15,200.00
รวมงบประมาณ 15,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยก่อนเรียนถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่กลุ่มประชากรวัยเด็กจะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมาจากเด็กที่มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย ดังนั้นตั้งแต่ ปี 2559 รัฐบาลจึงมีนโยบายในการพัฒนาประชากรของประเทศตามกลุ่มวัยต่างๆตั้งแต่วัยทารกในครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ โดยความร่วมมือกันของหลายกระทรวง เห็นได้จาก พมจ.สนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตร 600 บาท/เดือน แก่เด็กที่เกิดในปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุข มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภายใต้โครงการตำบลพัฒนาการเด็กดีเริ่มที่นมแม่มาหลายปี และในปี 2560 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี มีนโยบายการพัฒนาการดูแลสุขภาพเด็ก 0 – 5 ปี โดยใช้เกณฑ์สูงดี สมส่วนเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุและน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง จากการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเด็กวัยก่อนเรียน ตามเกณฑ์โภชนาการพบว่าเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านบาโงยือแบ็ง พบว่ามีภาวะสูงดี สมส่วน ในปี 2562 2563 และ 2564 ร้อยละ 57.43 ,72.64 และ 59.07 ตามลำดับพบว่าภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน ) จำนวนเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย 120คน มีภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน ) 50 คน คิดเป็นร้อยละ 41.67สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก ละเลยการจัดการหาอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย และการเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก เช่น ชาเย็น นมเย็น ยำมาม่า ลูกชิ้นไส้กรอกขนมกรุบกรอบ ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ฟันผุง่าย เจ็บป่วยบ่อย ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้
ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพนั้น จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก(0-5 ปี) ภายใต้ชื่อโครงการ ครอบครัวโภชนาการดีสูงดีสมส่วน เพื่อเฝ้าระวังดูแลสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนโดยอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็ก 0- 5ปี

ร้อยละ 95 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

95.00
2 2.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0.5 ปี ในเรื่องการดูแลเด็กให้มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน/ผลกระทบจากภาวะทุพโภชนาการและแนวทางแก้ไขการเจริญเติบโตช้าในเด็ก

1.ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้า ได้รับความร้ร้อยละ 100 2.ร้อยละ 95 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้ามาตามนัด

0.00
3 3.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลแก้ไข

1.ร้อยละ 50 ของ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเจริญเติบโตช้า ได้รับการแก้ไขโดยผู้ปกครอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,200.00 1 15,200.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่สมส่วน ) จำนวน 1 วัน (กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง เด็กที่ไม่สูงดี สมส่วน 50 คน) และแจกอาห 0 15,200.00 15,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2565 00:00 น.