กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลแป้น อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี ปี 2566 (รพ.สต.แป้น)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลแป้น อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี ปี 2566 (รพ.สต.แป้น)
รหัสโครงการ 66-L0000-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิวรรณ จันทนิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745632,101.539485place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งรัฐต้องสูญเสียทรัพยากรจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยปัจจัยที่สำคัญของการที่พบผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากขึ้น คือ ผู้ป่วยไม่รู้ว่าป่วยเป็นโรคไตระยะเริ่มแรกที่พอรักษาได้ และผู้ป่วยที่มีโรคเดิมอยู่แล้วดูแลตนเองไม่ถูกต้องสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตวายระยะสุดท้าย มาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายหรือได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม และข้อมูลสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอันดับโรคไตเรื้อรังเป็นอันดับที่ 2 สำหรับการเกิดภาวะไตเรื้อรังระบบทางเดินปัสสาวะ การเกิดภาวะไตเรื้อรัง จะทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่ของไต ในการรักษาความสมดุลของเกลือแร่และกรดด่าง ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างของเสียทางช่องท้องหรือการเปลี่ยนไต ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยจึงมุ่งที่จะประคับประคองให้สามารถควบคุมอาการได้ ชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต ไม่ให้กลายเป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้ายป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 113 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 383 คน และพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คนจากการคัดกรองภาวะโรคไตเรื้อรัง (ChronicKidneyDisease = CKD) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง พบภาวะโรคไตเรื้อรัง จำนวน 41 คน โดยจำแนกเป็นผู้ที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) Stage 1 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 9.76 , Stage 2 จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 30.23 , Stage 3 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 41.86, Stage 4 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 13.95 และ Stage 5 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.95 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันและชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงและชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อป้องกันและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย

ร้อยละของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีการลดลงของค่า eGFR

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,300.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 66 ป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 0 10,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไตเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเองและนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2565 00:00 น.