กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ดำเนินงานตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต1 ตุลาคม 2566
1
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.หนองแรต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นที่  1  ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมอสม. และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
        1.2 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบเพื่อรับบริการตามวันและเวลาที่กำหนด
ขั้นที่  2  ขั้นดำเนินงาน
        2.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพร้อมอสม.สาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามละแวกรับผิดชอบลงดำเนินการคัดกรองตามจุดนัดหมาย
หมู่ที่ 1 บ้านปือโด
หมู่ที่ 2 บ้านแหลม
หมู่ที่ 3 บ้านแบรอ
หมู่ที่ 4 บ้านบือแนลูวา
หมู่ที่ 5 บ้านลางา
หมู่ที่ 6 บ้านวาจา
ตรวขสุขภาพเบื้องต้น :
-ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว
-วัดความดันโลหิต
-คัดกรองเบาหวาน เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว
-ประเมินค่า BMI
-ประเมิน CVD Risk
-พบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใบนัดในกลุ่มเสี่ยง
        2.2 จัดทำทะเบียนแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มสงสัยป่วย นำข้อมูลไปคีย์ในโปรแกรม JHCIS

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงพบว่า ผ่านเกณฑ์ คัดกรองเบาหวาน จำนวน 1,064 คน ได้รับการคัดกรอง 1,011 คน คิดเป้นร้อยละ  95.02
    และคัดกรองความดัน จำนวน 856 คน ได้รับการคัดกรอง 812 คน คิดเป้นร้อยละ 94.86
  2. ร้อยละผลการคัดกรองประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคเบาหวานตามระดับความเสี่ยง พบว่า
    กลุ่มปกติ  จำนวน 814 คน คิดเป็นร้อยละ 80.51
    กลุ่มเสี่ยง  จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 18.00
    กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน  15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.48
    3.ร้อยละผลการคัดกรองประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงตามระดับความเสี่ยง พบว่า
    กลุ่มปกติ  จำนวน 636 คน คิดเป็นร้อยละ 78.33
    กลุ่มเสี่ยง  จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 16.13
    กลุ่มสงสัยป่วย  จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 5.42
    กลุ่มป่วย(ส่งพบแพทย์)  จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.12
    4.ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ลดลงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกจากแพทย์ (ปีพ.ศ.2566-ปีพ.ศ.2567) จากกราฟจำนวนผู้ป่วยปี 2566 โรคเบาหวานรายใหม่
    ปีพ.ศ.2566 จำนวนผู้ป่วย 13 คน ในปีพ.ศ.2567 (เดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567) พบว่าจำนวนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ลดลงกว่าเดิม จำนวนผู้ป่วย 4 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23
    และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ปีพ.ศ.2566 จำนวนผู้ป่วย 19 คน ในปีพ.ศ.2567 ลดลงกว่าเดิม จำนวนผู้ป่วย 9 คน คิดเป็นร้อยละ 52.63
    ทั้งนี้การคัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงอาจยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ จึงอาจทำให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่นั้นลดลงจริง แต่อาจพบผู้ป่วยรายใหม่มากขึ้นในปีถัดไปได้มากขึ้น
จัดประชุมชี้แจงโครงการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต. ให้กับ อสม. ผู้รับผิดชอบ1 ตุลาคม 2566
1
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.หนองแรต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ประชุมอสม. และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผู้รับผิดชอบ 2 วิเคราะห์ปัญหาที่พบจากการดำเนินงานที่ผ่านมาและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบเพื่อรับบริการตามวันและเวลาที่กำหนด 5.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับทราบเพื่อเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมที่ 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต. แก่อสม. แจ้งกลุ่มเป้าหมายพร้อมจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตในเขตรับผิดชอบ
        - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน.....50......คน × 25 บาท × 1  ครั้ง เป็นเงิน.......1,250...........บาท รวมกิจกรรมที่  1    เป็นเงิน........1,250...........บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผุ้เข้ารวมครบตามองค์ประชุม ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายกำหนดวันลงปฏิบัติงานตามจริง สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจากการลงคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชน(เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2565 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2565) จากตารางกราฟพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน เป้าหมาย 1,065 คน ได้รับการคัดกรองเป็นจำนวน 1,038 คน คิดเป็นร้อยละ 97.96 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 863 คน ได้รับการคัดกรองเป็นจำนวน 833 คน คิดเป็นร้อยละ 96.52
2.1 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน
2.1.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานจำนวน 1,038 คน
แบ่งตามความรุนแรงได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มปกติ จำนวน 824 คน คิดเป็นร้อยละ 79.38 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 18.50 สงสัยป่วย จำนวน  22 คน คิดเป็นร้อยละ  2.03 2.1.2 ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 22 คน จำนวนที่ได้รับการตรวจซ้ำยืนยันได้ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82
2.2 ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 2.2.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูงจากกราฟพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 833 คน
แบ่งตามความรุนแรงได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มปกติ จำนวน 674 คน คิดเป็นร้อยละ 80.82 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 14.51 สงสัยป่วย จำนวน 38  คน คิดเป็นร้อยละ  4.56 2.2.2 ร้อยละการติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันสูง จำนวน 38 คน ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยอสม.และเจ้าหน้าที่ประจำโรงพาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล1 พฤษภาคม 2566
1
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.หนองแรต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม  4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยอสม.และเจ้าหน้าที่ประจำโรงพาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นจำนวน  3  ครั้ง  ห่างกัน  1  เดือน  โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว  พร้อมคืนข้อมูลผลการตรวจซ้ำให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองเป็นรายบุคคล จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน .....40........คน
        -  ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตซ้ำหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ  จำนวน.....40.......คนๆละ ×  25  บาท  ×  1  วัน เป็นเงิน...2,000...บาท รวมกิจกรรมที่  4    เป็นเงิน......2,000........บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 จากการติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย ตรวจสุขภาพจำนวน 3 ครั้งห่างกัน 1 เดือนหลังเข้ารับการอบรมโครงการแล้วพบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น ส่งผลทำให้ผลการตรวจสุขภาพค่าน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 3 อยู่ในระดับปกติ มากที่สุดจำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 65 และจำนวน 17 รายมีผลการตรวจสุขภาพค่าน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 3 อยู่ในระดับเสี่ยง
1.1 ผลการตรวจสุขภาพ ค่าความดันโลหิตสูง (กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครบ 3 ครั้งผลค่าความดันระดับปกติ คงเดิม จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 45  ผลค่าความดันระดับเริ่มสูง เพิ่มขึ้นจากเดิมในครั้งที่ 2 จำนวน 7 ราย ในครั้งที่ 3 เพิ่มเป็นจำนวน 9 รายคิดเป็นร้อยละ 45  และผลค่าความดันระดับสูง ลดลง จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 10
และผลการประเมินการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular risk (CVD Risk)) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย อยู่ในระดับโอกาสเสี่ยงต่ำ ( 

กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง1 พฤษภาคม 2566
1
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลหนองแรต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นัดกลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวาน คัดกรองเจาะเลือด FPG ซ้ำ 1 วัดถัดไปหลังวันคัดกรองที่ รพ.สต. เพื่อตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเบาหวาน
    1.จัดประชุมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด..40..คน  (กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 20 คน, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน) เปิดโครงการ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต บรรยายความเป็นมาและความสำคัญของโครงการในการจัดโครงการครั้งนี้
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ลงทะเบียน ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก  วัดรอบเอว  วัดความดัน  ชั่งน้ำหนักประเมินค่าดัชนีมวลกาย
  2. เจ้าหน้าที่รพ.สต. บรรยายให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันดลหิตสูงแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ บรรยายให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยง ใช้  หลัก 3อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต -  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี  -  ฐานอาหารแลกเปลี่ยน -  ฐานฉลากโภชนากา -  ฐานคำนวณแคลอรี่
  3. กิจกรรมจัดการอารมณ์ : กิจกรรมการออกกำลังกาย
  4. ชี้แจ้งเป้าหมายหลังการอบรมมีอสม.ลงติดตามตรวจวัดความดัน Home BP หลังเข้าโครงการ 3 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน -  ค่าเอกสารการอบรม จำนวน ......40.........ชุด ×  2  บาท         เป็นเงิน......80....บาท -  ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม แก่ผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ
              จำนวน.....40.........คน    ×  25  บาท x 2  ครั้ง                    เป็นเงิน....2,000..บาท -  ค่าอาหารกลางวัน แก่ผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ
              จำนวน.....40.........คน    ×  50  บาท x 1  วัน                      เป็นเงิน....2,000..บาท รวมกิจกรรมที่  3    เป็นเงิน........4,080........... บาท
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้ารับการอบรมโครงการ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจหลังเข้ารับการอมรบ ข้อที่ตอบถูกมากที่สุด ข้อ 1 , ข้อ 2 และข้อ 6 จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และข้อที่ตอบถูกน้อยที่สุดคือ ข้อ 7 รายการอาหารแลกเปลี่ยนช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานเลือกกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น และกินได้ในปริมาณทีไม่จํากัด จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 63.3 และมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นผ่านเกณฑ์ หลังเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 90
แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้ารับการอบรมโครงการ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงความดันสูงมีความรู้ความเข้าใจหลังเข้ารับการอมรบ ตอบถูกทุกข้อ ยกเว้น ข้อ 3 ระดับความดันโลหิตสูงกว่าเท่าใดแสดงว่าป่วย เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตอบถูกจำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 90กลุ่มเสี่ยงความดันสูงมีความรู้ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 90 และมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นผ่านเกณฑ์ หลังเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 99