กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566 ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวอัปสร สุติก

ชื่อโครงการ โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5313-03-008 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 66-L5313-03-008 ระยะเวลาการดำเนินงาน 29 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 126,896.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด คือ การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เพื่อแก้ปัญหาเด็กๆ ที่ต้องไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อันเนื่องจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้า ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้สำหรับเด็ก บางรายพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้เงินไว้เพื่อซื้ออาหารเช้า แต่เด็กกลับนำไปซื้อขนมทานเล่นแทน บางครอบครัวเด็กขาดแคลนแหล่งอาหาร ไม่มีเงินซื้อ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล การบริโภคอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อระบบสมองและสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กบางคนต้องดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ เพื่อประทังความหิว เพื่อรอรับประทานอาหารกลางวัน การสนับสนุนอาหารเช้าสำหรับเด็ก จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน จะทำให้เด็กมีความพร้อมและสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดทั้งวัน เด็กร่าเริง แจ่มใส และร่วมทำกิจกรรมในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวเด็กที่มีฐานะยากจน ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการนี้จากหลายๆ แหล่งพบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส สามารถตอบสนองในการทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และด้านสังคม เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการกินอาหารร่วมกัน การแบ่งปัน ที่สำคัญคือ เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือกินอาหารเช้ามากขึ้น อีกทั้งผู้ปกครองให้ความใส่ใจเรื่องอาหารเช้ามากขึ้นเช่นกัน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดมีเขตบริการของศูนย์ คือ หมู่ 5 (บ้านทุ่ง), หมู่ 9 (บ้านคลองขุด), หมู่ 10 (บ้านห้วยไทร), หมู่ 11 (บ้านห้วยมะพร้าว), หมู่ 13 (บ้านทุ่งพัฒนา) และหมู่ 16 (บ้านคลองน้ำเค็ม) ในปีการศึกษา 2565 มีเด็กทั้งหมด 142 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการจัดโครงการ สมองสดใส จิตใจเบิกบาน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเสริมสร้างพัฒนาการ จึงต้องการวิตามินเสริมอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด มีเด็กทั้งหมด 142 คน พบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 53 คน เด็กผอมจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 22.7เด็กอ้วนจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 จากปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์
  2. เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
  3. ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
  4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. เตรียมความพร้อม
  2. 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้
  3. 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล
  4. 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์
  5. 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว
  6. 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการทางร่างกาย และสติปัญญาสมวัย 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแล ร่วมแก้ปัญหาโภชนาการในเด็กปฐมวัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

วันที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดซื้อลำโพงพร้อมไมค์โครโฟน -จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นเเอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีลำโพงที่ได้มาตรฐาน -เด็กในศูนย์พัฒเด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะสมตามวัย มีความสุข สนุกสนานกับการทำกิจกรรม

 

0 0

2. 1. เตรียมความพร้อม

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนที่1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกินโดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่  กลุ่มที่1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่งรีบไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็กบางครั้งซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้าสอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับอาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจร็ญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน 43 คน  กลุ่มที่2 เด็กที่มีน้หนักเกินเกณฑ์ จำนวน 10 คน
ขั้นตอนที่2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบลละงู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

0 0

3. 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ครูตรวจประเมินน้ำหนัก/ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ -จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ประเมินภาวะทุพโภชนาการทุก 1 เดือน -จัดซื้อที่วัดส่วนสูงจำนวน 1 ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน

 

0 0

4. 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นวางแผน(P) -ประชุมชี้แจ้งแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงาน -แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นดำเนินงาน(D) -ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล ขั้นประเมินผล(C) -สรุปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปและรายงานผลดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงพัฒนางาน(A) -นำผลการดำเนินกิจกรรมมาวิเคราะห์ปรับปรุงเพื่อว่างแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูและผู้ปกครองความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ อาหารที่เหมาะสมกับเด็กตามวัย

 

0 0

5. 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน เป็นเวลา 80 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน และมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกฑณ์ดีขึ้น

 

0 0

6. 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเกษตร พันธ์ผักสวนครัว -ครูเเละเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์ฯโดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กช่ยกันดูแลผัก เมื่อผักสมารถรับประทานได้จึงเ็บผักมาปรุงอาหารเพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและพันธ์ผักสวนครัวเพื่อเตรียมไว้จัดกิจกรรมให้เด็กในศูนย์ฯ -เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว เด็กมีความสุข สนุกสนาน ในการลงมือปฎิบัติกิจกรรม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง
0.00 53.00

เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น (สมส่วน)จาก 53 คน เป็น 25 คยที่ดีขึ้น

2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย
0.00 53.00

จัดทำอาหารสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 53 คน 80 วัน

3 ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
ตัวชี้วัด : ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
0.00 142.00

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน

4 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)
0.00 1.00

ปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่มีประโยชน์ให้กับเด็กและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กภายในศูนย์

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0 53
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 0 142
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ (2) เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (3) ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย (4) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. เตรียมความพร้อม (2) 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ (3) 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล (4) 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ (5) 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว (6) 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสมองสดใส จิตใจเบิกบาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ปี พ.ศ. 2566 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5313-03-008

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอัปสร สุติก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด