กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน แวหะยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปี โรคหลอดเลือดสมองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ และปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤตของแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจเกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) ซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเป็นรายโรค และพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิงคือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 28 ในเพศหญิง และร้อยละ 10.6 ในเพศชาย ส่วนผู้รอดชีวิตจากกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดความพิการหลงเหลือตามมามากที่สุด
สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ของตำบลสะเตงนอก พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค ได้แก่ การที่ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือด มีอัตราการควบคุมระดับความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสมมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เมื่องดอาหาร และมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังรับประทานอาหาร มีอัตราการควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และจากสถานการณ์ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในตำบลสะเตงนอกปีงบประมาณ 2561-2565 จำนวน 134, 152, 147, 161 และ 167 ราย ตามลำดับ (จากฐานข้อมูลสุขภาพ HDC จังหวัดยะลา วันที่ 2 พฤษภาคม 2566) แต่ถ้าหากผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือได้รวดเร็วทันเวลา จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 30 และลดความพิการที่อาจเกิดตามมาภายหลังได้ หากได้รับการนำส่งโรงพยาบาลอย่างถูกวิธี และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง นับจากเกิดเหตุ จากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าจำนวนการป่วย และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ซึ่งเป็นภัยคุกคามทางด้านสุขภาพ
ดังนั้น ศูนย์บริการสาธารณสุขด้านเวชกรรมฟื้นฟู เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2566” ขึ้น โดยการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่เพื่อลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

0.00
2 2. สามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉินได้ด้วยตนเอง

 

0.00
3 3. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,550.00 2 26,550.00
24 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 0 15,550.00 15,550.00
24 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 ทดสอบสมรรถภาพทางกายและสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 0 11,000.00 11,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีศักยภาพและองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉินได้ด้วยตนเอง 3.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างพฤติกรรมที่ดีในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2566 09:06 น.