กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะนง
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 148,809.30 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะนง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 148,809.30
รวมงบประมาณ 148,809.30
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3449 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“โรค NCDs” (No communicable Diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งๆ โรคไตเรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทยซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภค หวาน มันเค็ม และการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ประชาชนป่วยด้วยโรค NCDs เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตำบลทะนง ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่เป็นปัญหาของตำบลทะนง ในปี 2565 ข้อมูลจาก HDC ซึ่งประชากรของตำบลทะนง ซึ่งประชากรของตำบลทะนงเป็นชาย 3,667 คน เป็นหญิง 3,837 คน รวมทั้งสิ้นตำบลทะนง มีประชากรเป็น 7,504 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1,347 ราย อัตราป่วยของโรคความดันโลหิตสูง 17,864.72 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยรายใหม่จากโรคความดันโลหิตสูง 132 ราย อัตราป่วยรายใหม่จากโรคความดันโลหิตสูง 1,759.06 ต่อแสนประชากร ป่วยตายจากโรคความดันโลหิตสูง 36 ราย อัตราป่วยตายจากโรคความดันโลหิตสูง 479.74 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 559 ราย อัตราป่วยของโรคเบาหวาน 7,449.36 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยรายใหม่จากโรคเบาหวาน 45 ราย อัตราป่วยรายใหม่จากโรคเบาหวาน 599.68 ต่อแสนประชากร ป่วยตายจากโรคเบาหวาน 19 ราย อัตราป่วยตายจากโรคเบาหวาน253.19 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยโรคไตเรื้องรัง 279 ราย อัตราป่วยของโรคไตเรื้องรัง 3,718.01 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยรายใหม่จากโรคไตเรื้องรัง 3 ราย อัตราป่วยรายใหม่จากโรคไตเรื้องรัง 39.97 ต่อแสนประชากร ป่วยตายจากโรคไตเรื้องรัง 1 ราย อัตราป่วยตายจากโรคไตเรื้องรัง 13.32 ต่อแสนประชากร และการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในกลุ่มเสี่ยง ในปี 2565 จำนวน 168 ราย มีผลเป็นบวก 52 ราย อัตราการคัดกรองมีผลเป็นบวก 692.96 ต่อแสนประชากร
จากข้อมูลข้างต้นมีผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในชุมชน แต่ยังมีผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะนง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับการคัดกรอง และผู้ป่วยรายใหม่ที่ยังไม่ได้ผ่านการอบรมหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นกลุ่มสี่ยง มาทำการตรวจเพิ่มเติมหรือการรักษา เพื่อให้สภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติ ลดเสี่ยง ลดโรค ลดผู้ป่วย และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและจำแนกประเภทของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวาย เรื้อรัง

จำนวนผู้ป่วยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป

0.00
3 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

จำนวนประชากรที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 148,809.30 3 148,809.30
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ 2ส 50 5,000.00 5,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กลุ่มป่วยในการการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย 50 5,000.00 5,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ 3a และ 3b ที่มีค่า eGFR อยู่ระหว่าง 30- 59 และญาติผู้ป่วยหรือผู้ดูแล 30 138,809.30 138,809.30

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรัง มีภาวะแทรกซ้อนลดลง -จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังลดลง -กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้รับการคัดกรองครบตามเป้าหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 00:00 น.