กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ร่างกายปลอดสารพิษ ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าขมิ้น
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 52,115.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสังวอน พันธ์พงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งอาหารยังกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่อาหารที่ขาดคุณภาพและไม่ปลอดภัยอาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียทั้งในด้านสุขอนามัยของประชาชน และในด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร แม้ว่าหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะมีความพยายามในการนำมาตรฐานตามหลักสากลมาควบคุมการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและตลาดส่งออกของประเทศไทย แต่ปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหารก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากสถิติการเจ็บป่วย ข่าวสารทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งคำแจ้งเตือนจากประเทศต่าง ๆ ถึงความไม่ปลอดภัยของอาหารจากประเทศไทย จากการดำเนินงานต่อเนื่องคุ้มครองผู้บริโภคในปี2565 ในตัวชี้วัดเรื่องอาหาร ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าขมิ้น ได้เก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจเพื่อค้นหารสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ประเภท คือ สารกันราสารฟอกขาว สารบอแรกซ์และสารฟอร์มาลิน พบสารปนเปื้อนตกค้างในอาหารจากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ทั้งหมดจำนวน 11 ตัวอย่าง ไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร ทั้ง 11 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 100กลุ่มเกษตรกรที่เสี่ยงต่อการพบสารเคมีในเลือด และเคยได้รับการเจาะเลือดตรวจสารเคมีในครั้งที่ 1 มาอบรมเพิ่ม ให้ครบตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ พบว่า กลุ่มเสี่ยงทั้ง 90 คน ส่วนใหญ่ผลเลือดตรวจสารเคมีอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 91.11 รองลงมาอยู่ในปลอดภัย ร้อยละ 7.78 และกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 1.1ตามลำดับผู้ขายร้านชำจำหน่ายอาหารแผงลอย ยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคบางส่วน
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลท่าขมิ้น ได้เห็นความสำคัญของนโยบายอาหารปลอดภัยและเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลท่าขมิ้นจึงได้จัดทำโครงการ อาหารปลอดภัย ร่างกายปลอดสารพิษปี 2566เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลเฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภคให้มีความปลอดภัยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความตั้งใจผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพ และผู้บริโภคได้บริโภคอาหารและเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบของชมรมและยั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ส่วนรวม ไม่เจ็บป่วยจากการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดและเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดิน แม่น้ำ ของตำบลท่าขมิ้นและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารและประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย 1.2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่พบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดมีความรู้เรื่องอันตรายจากสารพิษ ยาฆ่าแมลงรู้วิธีป้องกันตนเองในขณะใช้ยาฆ่าแมลง 1.3 เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืช และใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.1เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารและประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย 1.2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่พบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดมีความรู้เรื่องอันตรายจากสารพิษ ยาฆ่าแมลงรู้วิธีป้องกันตนเองในขณะใช้ยาฆ่าแมลง 1.3 เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืช และใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 66 - 28 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม.และ อย.น้อย 24,840.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 ตรวจให้คำแนะนำแผงลอยจำหน่ายอาหารพร้อมทั้งตรวจ SI2 ( โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ) 0.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 ตรวจสารพิษในเลือดของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป 6,275.00 -
1 เม.ย. 66 - 31 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้เกษตรกรและประชาชนที่พบสารเคมีในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 21,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารและประชาชนทั่วไปสามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้ 7.2ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่พบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดมีพฤติกรรมป้องกันตนเองในขณะใช้ยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้น 7.3 การใช้สารเคมีในชุมชนกำจัดแมลงและศัตรูพืชลดน้อยลง เปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพทดแทนมากขึ้น 7.4 แกนนำ อสม. และ อย.น้อย ในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร สามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2566 00:00 น.