กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมร่มไทรทองตำบลทะนง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 44,236.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ แก้วลา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 44,236.00
รวมงบประมาณ 44,236.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1456 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง วัยเด็กและแรงงานลดลง เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2564 (สัดส่วนของประชากรอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากร)และจะกลายเป็นสังคมสูงอายุสุดยอดในปีพ.ศ.2574 (สัดส่วนของประชากรอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ28 ของประชากร) โดยผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 15 เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงบางส่วนหรือทั้งหมด และผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 1.5 เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงทั้งหมด ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง โดยจะมีประชากรวัยทำงานเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจน้อยลง ในขณะที่มีประชากรสูงวัยซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้น (แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2566-2569) จากข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุตำบลทะนง 5 ปีย้อนหลัง (2562-2566) จากฐานข้อมูล HDC พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดดังนี้ (1,266/5,004) (1,309/4,966) (1,369/5,144) (1,353/5,370) (1,456/5,188) ซึ่งมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 25.30 , 26.36 , 26.61 , 25.20 และ 28.06 ตามลำดับ และตั้งแต่ปี 2561 ถือว่าตำบลทะนงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จากการคัดกรองADL จำนวน 1,210 คนสามารถแบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลคือผู้สูงอายุติดสังคม 1,194 คนคิดเป็นร้อยละ 98.68 ผู้สูงอายุติดบ้าน 9 รายคิดเป็นร้อยละ 0.74 ผู้สูงอายุติดเตียง 7 รายคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด ปัญหาที่ตามมากับสังคมผู้สูงอายุคือการขาดผู้ดูแลที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการความยากจนของครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุและโรคภัยที่มักเกิดกับผู้สูงอายุเนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพเช่นโรคเรื้อรังโรคข้อเข่าเสื่อมปัญหาพัดตกหกล้มโรคซึมเศร้าการมองเห็นหรือการได้ยินที่ลดลงเป็นต้น ในภาวะสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ชมรมผู้สูงอายุและผู้พิการร่มไทรทองตำบลทะนงได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นโดยจัดกิจกรรมเพื่อสร้างศักยภาพในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของชมรมผู้สูงอายุและผู้พิการร่มไทรทองตำบลทะนง เพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์และสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ โดยใช้กระบวนการ สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาที่คงมีอยู่ในตัวผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมทั้งและเปิดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ยกระดับคุณค่า ของ คลังภูมิปัญญา พัฒนาต่อยอดกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในพื้นที่ ภูมิปัญญาเหล่านี้จึงเป็นรากฐานในการหล่อหลอมคนในชุมชนนำพาให้สังคมผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันภายใต้อุดมการณ์สูงวัยห่วงใยซึ่งกันและกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ มีเวทีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง

2 เพื่อคัดกรองค้นหาผู้สูงอายุกลุ่มดี เสี่ยง ป่วย และเยี่ยมติดตามให้การดูแลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติด บ้าน ติดเตียง และผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

ผู้สูงอายุในตำบลทะนงได้รับการเยี่ยมและประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ประเมิน ข้อเข่าเสื่อม ประเมินภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้าทุกคน

3 เพื่อนำผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากผลการคัดกรองมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเวทีโรงเรียนผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุในตำบลทะนงที่มีความเสี่ยงจากผลการประเมินสุขภาพได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,236.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทองทุก 3 เดือน (4ครั้ง/ปี) และประชุมสามัญ1ครั้ง/ปี 0 10,000.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 คัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อหาปัญหาและโรคที่พบบ่อยและประเมินสมรรถนะ 0 8,736.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย และงานทันตกรรม 0 22,500.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้ 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ มีเวทีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 2 ผู้สูงอายุในตำบลทะนงได้รับการเยี่ยมและประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ประเมินข้อเข่าเสื่อม ประเมินภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้าทุกคน 3 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 00:00 น.