กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
รหัสโครงการ 67 – L4160 - 02 -16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตาโงง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอซีด๊ะ ยีมานี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมัยมูน สาและมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับสุขภาพคนไทย จากข้อมูลในปี 2560 พบว่ามีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นจากปี 2559 ถึง 3.74 หมื่นตัน ขณะเดียวกันเมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลผู้มีงานทำในปี 2561 พบว่ามีทั้งหมด 38.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงาน นอกระบบ 21.2 ล้านคน และมากกว่าครึ่ง หรือประมาณ 11.7 ล้านคนทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม คนเหล่านี้ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องการจัดการสารเคมี ก็สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้พวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในปี 2563 พบครัวเรือนที่ยังคงใช้ สารเคมีทางการเกษตรจำนวน 677,522 ครัวเรือน หรือร้อยละ 25.60 การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้สร้าง ผลกระทบต่อร่างกายของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ได้แก่ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยพาราควอตนั้น เกิดพิษเฉียบพลันสูงมากและยังไม่มียาถอนพิษ ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน และยังมีสารตกค้างในซีรั่มของทารกแรกเกิดและมารดาด้วย ขณะที่คลอไพริฟอส ก็ทำให้ เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองของเด็กที่แม่ได้รับสารระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนไกลโฟเซต ก็เป็นสารก็เป็นสารก่อมะเร็ง รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (โดยนพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย) และภาคใต้เป็นภาคที่มีสารเคมีตกค้างในร่างกายประชาชนระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงสุดมากว่า 10 ปี ในปี 2565 มีสารเคมีตกค้าง โดยเฉพาะภาคใต้ 58.65%สารเคมีปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ และการซื้อผักจากท้องตลาดนั้นค่อนข้างมีราคาแพงและเต็มไปด้วยสารเคมี ทั้งปัจจุบันพืชผักต่างๆที่นำมาประกอบอาหารส่วนมาก มักพบการปนเปื้อนของสารพิษ หากเกิดการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อร่างกายระยะยาวได้ การปลูกผักกินเองในครอบครัวจึงเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองนั้นถือเป็นการสำรองอาหารอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการปลูกพืชผักสวนครัวด้วยวิธีการปลูกตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกผักปลอดสารพิษ ในการแก้ปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนและต่อยอดไปในครัวเรือน โดยการปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้บุคคลในครอบครัวได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อการมีสุขอนามัยและสุขภาพที่ดี มีภูมิต้านทานโรคที่ดี และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำให้บุคคลในครอบครัวได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษอีกด้วย ดังนั้น กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์เพื่อการเกษตรตาโงง หมู่ 5 ตำบลเนินงาน จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านจึงจัดโครงการปลูกผักปลอดสารพิษข้างบ้าน อาหารหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพให้กับครัวเรือนในชุมชนบ้านตาโงง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ของประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 19,850.00 0 0.00
24 เม.ย. 67 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวกินได้เพื่อสุขภาพที่ดี 50 9,850.00 -
25 เม.ย. 67 2. กิจกรรมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
  2. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 00:00 น.