กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตาโงง

1.นางรอซีด๊ะ ยีมานี
2.นายพูดายลี แตซิลง
3.นางสาวสากีเราะห์ ดือราซอ
4.นางสาวมายีด๊ะ โดมาตา
5.นางสาวสารอพะ ตีแลตานา

พื้นที่ตำบลเนินงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับสุขภาพคนไทย จากข้อมูลในปี 2560 พบว่ามีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นจากปี 2559 ถึง 3.74 หมื่นตัน ขณะเดียวกันเมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลผู้มีงานทำในปี 2561 พบว่ามีทั้งหมด 38.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงาน นอกระบบ 21.2 ล้านคน และมากกว่าครึ่ง หรือประมาณ 11.7 ล้านคนทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม คนเหล่านี้ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องการจัดการสารเคมี ก็สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้พวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในปี 2563 พบครัวเรือนที่ยังคงใช้ สารเคมีทางการเกษตรจำนวน 677,522 ครัวเรือน หรือร้อยละ 25.60 การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้สร้าง ผลกระทบต่อร่างกายของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ได้แก่ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยพาราควอตนั้น เกิดพิษเฉียบพลันสูงมากและยังไม่มียาถอนพิษ ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน และยังมีสารตกค้างในซีรั่มของทารกแรกเกิดและมารดาด้วย ขณะที่คลอไพริฟอส ก็ทำให้ เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองของเด็กที่แม่ได้รับสารระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนไกลโฟเซต ก็เป็นสารก็เป็นสารก่อมะเร็ง รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (โดยนพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย) และภาคใต้เป็นภาคที่มีสารเคมีตกค้างในร่างกายประชาชนระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงสุดมากว่า 10 ปี ในปี 2565 มีสารเคมีตกค้าง โดยเฉพาะภาคใต้ 58.65%สารเคมีปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ และการซื้อผักจากท้องตลาดนั้นค่อนข้างมีราคาแพงและเต็มไปด้วยสารเคมี ทั้งปัจจุบันพืชผักต่างๆที่นำมาประกอบอาหารส่วนมาก มักพบการปนเปื้อนของสารพิษ หากเกิดการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อร่างกายระยะยาวได้ การปลูกผักกินเองในครอบครัวจึงเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองนั้นถือเป็นการสำรองอาหารอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการปลูกพืชผักสวนครัวด้วยวิธีการปลูกตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกผักปลอดสารพิษ ในการแก้ปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนและต่อยอดไปในครัวเรือน โดยการปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้บุคคลในครอบครัวได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อการมีสุขอนามัยและสุขภาพที่ดี มีภูมิต้านทานโรคที่ดี และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำให้บุคคลในครอบครัวได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษอีกด้วย
ดังนั้น กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์เพื่อการเกษตรตาโงง หมู่ 5 ตำบลเนินงาน จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านจึงจัดโครงการปลูกผักปลอดสารพิษข้างบ้าน อาหารหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพให้กับครัวเรือนในชุมชนบ้านตาโงง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 70 ของประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวกินได้เพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวกินได้เพื่อสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร 600บ.X 2 คนๆ ละ 3 ชม. =3,600 บ. 2.ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. x50 คน=3,000 บ. 3.ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 50 คน x2 มื้อ =2,500 บ. 4.ค่าไวนิล ขนาด 3 เมตร x 250 บ.=750 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2567 ถึง 24 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9850.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ในการปลูกผักสวนครัว จำนวนเงิน 6,000 บาท 2.เมล็ดพันธ์เพื่อสาธิตลงแปลง จำนวนเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2567 ถึง 25 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
2. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน


>