กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บำบัดบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยการแพทย์แผนไทยในตำบลโพธิ์ไทรงาม
รหัสโครงการ L34011801003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแพทย์แผนไทยตำบลโพธิ์ไทรงาม
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2561
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมแพทย์แผนไทยตำบลโพธิ์ไทรงาม
พี่เลี้ยงโครงการ นางฐิติรัตน์ศรีรักชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโพธิ์ไทรงาม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.121,100.147place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 1 ก.ค. 2561 21,000.00
รวมงบประมาณ 21,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
21.45

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอด อุดกั้นเรื้อรังโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2549พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบ และไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1ใน4 หรือกว่า 2ล้านคนผู้สูบบุหรี่นอกจากใช้จ่ายเงินเป็นค่าบุหรี่แล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยโรคที่ป่วยอันเกิดจากการสูบบุหรี่ทั้งทำให้มีผลต่อความยากจน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร( อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ.2546:17 )จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปี 2558พบว่าประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไปสูบบุหรี่ร้อยละ 19.9 ( ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์.2559)เมื่อเปรียบเทียบกับการสุ่มสำรวจในพื้นที่อำเภอบึงนารางเมื่อเดือนกันยายน 2560โดยทีมสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบึงนาราง พบว่ามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ร้อยละ 46.3ดื่มสุราร้อยละ 17.7และจากผลการสำรวจ จปฐ. ปี 2560ของอำเภอบึงนารางพบว่าตำบลโพธิ์ไทรงาม มีผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ 21.45 , ติดสุราร้อยละ 13.48 ซึ่งมีอัตราการดื่มสุราที่สูงกว่าภาพรวมของอำเภอ สูงกว่าการสำรวจระดับจังหวัดพิจิตรเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (มีการดื่มร้อยละ 6.9 การสูบบุหรี่ร้อยละ 21.8 )
เมื่อเทียบกับเป้าหมายของจังหวัดพิจิตรก็ถือว่าสูงกว่าที่กำหนดไว้(อัตราการสูบบุหรี่,ดื่มสุราในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปต้องไม่เกินร้อยละ 10 และ 13 ตามลำดับ) หากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ตั้งแต่เนิ่นๆก็จะเป็นภาระโรคอันตรายก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ยุ่งยากขึ้นในอนาคตอีกมากมายประกอบกับในตำบลโพธิ์ไทรงามมีหมอพื้นบ้านมีหมอนวดแผนไทย สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการถอนพิษทำให้เบื่อบุหรี่สุรา ได้แก่รางจืดบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่สุรา อย่างได้ผล ตามรูปแบบแนวทางของโรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายกที่บำบัดผู้ติดบุหรี่สุราด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และโปรแกรมเลิกบุหรี่ของ รพ.สต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ที่จัดบริการคลินิกช่วยเลิกบุหรี่เคลื่อนที่เชิงรุกด้วยหลักธรรมานามัย มีการอบสมุนไพร นวดกดจุดสะท้อน ขับสารพิษด้วยสมุนไพรเพื่อเลิกบุหรี่ สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรที่มุ่งให้บริการสุขภาพดีวิถีไทยวิถีธรรม นำหลักธรรมมาเสริมภูมิปัญญาและกำลังใจให้กับที่ผู้ตั้งใจเลิกบุหรี่สุราให้สามารถเลิกบุหรี่สุราได้ จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ไทรงามร่วมกับชมรมแพทย์แผนไทยตำบลโพธิ์ไทรงาม อำเภอบึงนารางจังหวัดพิจิตร จึงเกิดความตระหนักและเห็นความจำเป็นที่จะดำเนินการลด และเลิกการสูบบุหรี่ในประชาชนพื้นที่ตำบลโพธิ์ไทรงาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ในชุมชน

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

21.45 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,000.00 1 0.00
??/??/???? จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 0 0.00 0.00
??/??/???? 2. ดำเนินงานตามโครงการ 0 14,000.00 -
??/??/???? 3.ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และขึ้นทะเบียนผู้ที่ต้องการบำบัดบุหรี่ 0 0.00 -
??/??/???? 4.ดำเนินการบำบัดรักษาตามแผน 0 9,000.00 -
??/??/???? 5. สร้างแกนนำเลิกบุหรี่/คู่หูบำบัดบุหรี่สุราเพื่อเป็นผู้กำกับดูแล 0 0.00 -
??/??/???? 6.จัดอบรมเสริมความรู้แก่นักเรียนเรื่องบุหรี่ 0 0.00 -
??/??/???? 7. จัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ 0 0.00 -
??/??/???? 8. ออกเยี่ยมติดตามเสริมกำลังใจแก่ผู้รับการบำบัดในชุมชน 0 0.00 -
??/??/???? 9.ชมรม อสม./ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและสายตรวจประจำตำบล วางแผน/ ออกตรวจเฝ้าระวังมาตรฐานร้านและการใช้กฎหมายในร้านจำหน่ายบุหรี่ สุรา 0 0.00 -
??/??/???? 10. จัดเวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 0.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโพธิ์ไทรงาม ( ม.ค. 61)
    1. ดำเนินงานตามโครงการ 2.1ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อประสานความร่วมมือกับกลุ่มเป้าหมายได้แก่ครู ผู้ประกอบการร้านค้าในหมู่บ้าน ชมรม อสม. ตำรวจสายตรวจประจำตำบลโพธิ์ไทรงาม และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบึงนารางในเวทีประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบึงนาราง( ม.ค.61 ) 2.2 จัดเตรียมสมุนไพรบำบัดบุหรี่สุรา /ตำรับยา/วัสดุอุปกรณ์ /ทำทะเบียนผู้ติดบุหรี่ สุรา 2.3 ฟื้นฟูความรู้ทักษะแก่แกนนำแพทย์แผนไทย หมอนวดแผนไทยในเรื่องการกดจุดสะท้อน ฝ่าเท้า การอบสมุนไพร การบำบัดอาการติดบุหรี่สุราด้วยสมุนไพร 2 วัน120 คน(ม.ค.61) โดยคบสอ.บึงนาราง 3.ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และขึ้นทะเบียนผู้ที่ต้องการบำบัดบุหรี่ สุราโดย รพ.สต.โพธิ์ไทรงาม/ชมรม อสม.ดำเนินการคัดกรองแล้วจำแนกประเภทความต้องการของผู้รับการบำบัด (1.หักดิบด้วยตนเองโดยมีคู่หูดูแล2. เข้ารับการบำบัดตามโปรแกรม3.รับการบำบัดตามระบบจากหน่วยบริการ4. อื่นๆ )( ม.ค.61) 4.ดำเนินการบำบัดรักษาตามแผน 4.1 การบำบัดด้วยสมุนไพรเชิงรับ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ไทรงาม และโรงพยาบาลบึงนารางบำบัดรักษาด้วยสมุนไพร การแพทย์แผนไทยที่หน่วยบริการ ( ต.ค.60 - ก.ย.61 ) 4.2 การบำบัดสมุนไพรเชิงรุก ในชุมชนภายใต้การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยจากแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลโพทะเล /โรงพยาบาลบึงนาราง วันแรกผู้ป่วยนำเครื่องบูชา ขันธ์ 5ขันธ์8ซึ่งเป็นการบูชาครูและสาบานตนว่าจะเลิกบุหรี่สุราก่อนดื่มชารางจืด มีพิธีสวดคาถาชุมนุมเทวดาเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ เพิ่มขวัญกำลังใจ โดยพระสงฆ์ที่เคารพบูชาเทศน์เสริมภูมิธรรมแก่ผู้ป่วย จากนั้นจะมีการกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้าและ อบสมุนไพร ต่อเนื่องกัน 5 วัน แล้วติดตามอย่างต่อเนื่องอีกสองครั้ง เดือนเว้นเดือน (ก.พ.-มิ.ย . 61) หลังอบสมุนไพรในระหว่างการบำบัด มีกิจกรรมหลังการอบสมุนไพร ผู้จัดและผู้รับการบำบัดพร้อมคู่หู จะวางแผนร่วมกันในการติดตามดูแลตลอดช่วงเวลา 6 เดือน แล้วมอบบัตรติดตามการบำบัดให้ผู้รับการบำบัดไป เพื่อคอยเตือนความจำและแนะนำการดูแลสุขภาพหลังการบำบัด ซึ่งรพ.สต.โพธิ์ไทรงาม/รพ.บึงนาราง จะเปิดคลินิกเลิกบุหรี่สุรารองรับไว้/ เสริมสร้างภูมิรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องความสูญเสียจากบุหรี่สุรา และการดูแลสุขภาพหลังจากการบำบัด
    2. สร้างแกนนำเลิกบุหรี่สุรา/คู่หูบำบัดบุหรี่สุราเพื่อเป็นผู้กำกับดูแล ให้กำลังใจให้ผู้ที่รับการบำบัดตลอดระยะเวลาบำบัด6เดือน โดยคัดเลือกจากกลุ่มผู้ป่วยเองและหรือแกนนำจิตอาสาในชุมชนอสม. ละแวกเดียวกัน 6.จัดอบรมเสริมความรู้แก่นักเรียนเรื่องบุหรี่ สุรา /หามาตรการทางสังคม,นโยบายป้องกันปัญหาบุหรี่สุรา(ก.พ. - มิ.ย. 61)ดำเนินการโดยชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและโรงเรียน
  2. จัดพื้นที่ปลอดบุหรี่สุรา ในโรงเรียน / อบต. /บ้าน / ตลาดนัด (ก.พ.-มิ.ย . 61)
  3. ออกเยี่ยมติดตามเสริมกำลังใจแก่ผู้รับการบำบัดในชุมชน แล้วประชุมสรุปผลการประเมิน 2 ครั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบึงนารางและทีมแพทย์แผนไทยตำบลโพธิ์ไทรงาม (ก.พ.-มิ.ย . 61) 9.ชมรม อสม./ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและสายตรวจประจำตำบล วางแผน/ ออกตรวจเฝ้าระวังมาตรฐานร้านและการใช้กฎหมายในร้านจำหน่ายบุหรี่ สุรา ปีละ 3 ครั้ง รายงานผลการเฝ้าระวังร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ สุรา โดย อสม. ( ธ.ค. 60 ,มีค. 61 , มิ.ย. 61 )
  4. จัดเวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหานวัตกรรมด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาบุหรี่สุรา 1 ครั้ง ( ก.ค.61) ในเวทีประชุม อสม.ที่ รพ.สต.โพธิ์ไทรงาม เพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานเด่นในระดับอำเภอต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ ดื่มสุรา จากปี 2560 ได้ตามเป้าหมาย
  2. สามารถนำสมุนไพรไทยในชุมชนมาบำบัดการเสพติดบุหรี่ได้อย่างมีประสิทธิผล
  3. เกิดนวัตกรรมด้านการเลิกบุหรี่สุรา
  4. มีและใช้มาตรการทางสังคม/นโยบายสาธารณะด้านบุหรี่สุรา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2561 15:40 น.