กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษสาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยามีผลต่อกันผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไตทำงานได้ลดลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลงอาจมีอาการสับสนได้ จากการใช้ยาที่คนหนุ่มสาวกินแล้วไม่เป็นอะไรปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ อาจเนื่องจากปัญหาด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปพบแพทย์ได้
พื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านอุไร ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีผู้สูงอายุจำนวน 80 คน กลุ่มติดสังคมจำนวน 69 คน กลุ่มติดบ้านจำนวน 6 คน และกลุ่มติดเตียงจำนวน 5 คน จากการลงเยี่ยมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีผู้สูงอายุจำนวน 51 หลังคาเรือน พบปัญหาเรื่องการกินยา โดยพบว่ามีผู้สูงอายุกินยาผิดจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 มียาเก่าสะสมยาใหม่จำนวน25 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 กินยาเองไม่มีใครดูแลจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10 โดยบางครัวเรือนมีลูกหรือญาติคอยกำกับการกินยาจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 55.0 และมีผู้สูงอายุที่กินยาเองไม่มีใครดูแล(สามี -ภรรยา) จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 35.0 ซึ่งอันตรายต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุได้รับอันตรายจากการใช้ยา เช่น การทำงานของไตประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลงดังนั้นการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ย่อมลดน้อยลง ทำให้มีโอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ การทำงานของตับ ยาที่ให้โดยการรับประทาน มักจะผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกที่ตับ แต่ถ้าขบวนการเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพ จะทำให้มีระดับยาในเลือดสูง จนอาจเกิดอันตรายได้ ความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการทำงานของ หลอดเลือดและหัวใจ ผู้สูงอายุมักจะมีความไว ต่อยาที่ออกฤทธิ์ในบริเวณดังกล่าว อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้นได้ เช่นอาการแพ้ยา ความจำของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย มักเกิดปัญหาการใช้ยาไม่ครบตามที่กำหนด หรือปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เชื้อดื้อยา การรักษาจึงไม่หายเสียที หรือเกิดอาการเป็นพิษ เนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดได้
น้ำหนักผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักน้อย หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ จำเป็นต้องพิจารณาขนาดยาให้เหมาะสมโรคในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักเป็นหลายโรค ซึ่งอาจต้องพบแพทย์หลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับยาซ้ำซ้อน จึงอาจได้รับยาเกินขนาดได้
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในเรื่องการกินยา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุเพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนแล้วให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ พร้อมทั้งสาธิต/แนะนำวิธีการใช้ตะกร้าใส่ยา แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับผู้สูงอายุให้ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองจากนั้นลงเยี่ยมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
  • ผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมการกินยา
100.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง
  • ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
70.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี
  • ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,930.00 5 25,930.00
2 - 30 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 0 935.00 935.00
14 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ 0 23,995.00 23,995.00
28 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร 0 0.00 0.00
10 ก.ค. 61 กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ 0 0.00 0.00
20 - 31 ก.ค. 61 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2.1 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้
  2. ขั้นดำเนินงานตามกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 1.1 ออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ พฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 1.2 ลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล 1.3 คืนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน กิจกรรมที่ 2อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ 2.1 เรื่องหลักการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ 2.2 เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อยและกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงและควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ 2.3 เรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ 2.4 สาธิต/แนะนำวิธีการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับผู้สูงอายุทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร 3.1 ติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย 3.2 แนะนำ ให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ 4.1 อาสาสมัครสาธารณสุขติดตามและประเมินผลการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 11:27 น.