กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ2 พฤศจิกายน 2561
2
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ1 ตุลาคม 2561
1
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 ตรวจสอบการกินยาของผู้สูงอายุโดย อสม.

1.2 สุ่มตรวจโดยเภสัชกรโรงพยาบาลละงู

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ

    จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยหลังจากที่เข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาทุกคน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและถือปฏิบัติทุกครั้ง คือ การตรวจสอบชื่อ-สกุล บนซองยาก่อนรับประทานยา การตรวจสอบวิธีการใช้ยาและอ่านคำแนะนำก่อนรับประทานยา การเก็บรักษายาให้พ้นแสงในที่สะอาดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก และหากมีอาการผิดปกติจะแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ตลอดจนในบางพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติในทางที่ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การรับประทานยาตรงเวลาที่เภสัชกรแนะนำ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการ พบจำนวนที่มีผู้ปฏิบัติทุกครั้ง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 63.75 และหลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 74 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 การใส่ยาเก่าและยาใหม่อยู่รวมกัน พบจำนวนผู้ไม่ถือปฏิบัติก่อนทำโครงการ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และหลังเข้าร่วมโครงการพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน คิดเป็นร้อยละ 96.25 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี
กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร1 สิงหาคม 2561
1
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 เยี่ยมติดตามโดย อสม./จนท./เภสัชกร

1.2 บันทึกการเยี่ยมตามแบบฟอร์มการเยี่ยม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ26 กรกฎาคม 2561
26
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมการอบรม

1.1 เรื่องหลักการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ

1.2เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อยและกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงและควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ

1.3เรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียง จากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

1.4 แนะนำวิธีการใช้ตะกร้า ให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลทดลองจัดและหยิบยากินเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การกินยาในผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง จากการแปลผล คะแนน 0-3 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง คะแนน 4-6 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คะแนน 7-10 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับดี พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 รองลงมาอยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 17.70 และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 12.39 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 รองลงมาอยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง ร้อยละ 23.01 จากการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในการสาธิตการใช้ตะกร้ายา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ตะกร้าใส่ยา ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองได้

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน1 มิถุนายน 2561
1
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 ออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ พฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

1.2 ลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล

1.3 คืนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยติดสังคม จำนวน 69 คน ร้อยละ 86.25 เป็นเพศหญิง จำนวน 48 คน ร้อยละ 60 เพศชาย จำนวน 32 คน ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 36 คน ร้อยละ 45 และมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากที่สุด อยู่ในช่วงอายุ 90-99 ปี จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.25 เมื่อจำแนกตามสถานภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรส จำนวน 56 คน ร้อยละ 70 โดยส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน จำนวน 67 คน ร้อยละ 83.75 มีรายได้ อยู่ในช่วง 601-800 บาท จำนวน 40 คน ร้อยละ 50 ซึ่งรายได้ของผู้สูงอายุ ในแต่ละเดือนได้มาจาก เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในชุมชน ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีจำนวน 38 คน ร้อยละ 47.50 และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จำนวน 42 คน ซึ่งผู้สูงอายุบางคนเป็นมากกว่า 1 โรค โดยส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิต จำนวน 34 คน ร้อยละ 61.82 รองลงมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 8 คน ร้อยละ 14.55  และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา โดยลักษณะคำตอบเป็นพฤติกรรมการใช้ยา 2 ระดับ คือ ใช่และไม่ใช่ ซึ่งจากการแปลผลการสำรวจ คะแนนเฉลี่ย 0-3 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 4-7 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 8-11 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดี ซึ่งพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48