กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care)
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 48,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 101 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการสร้างรากฐานความมั่นคงต่อการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพได้นั้นจะต้องได้รับการเลี้ยงดูและส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย เมื่อสุขภาพดีจะส่งผลต่อการเรียนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กทั้งด้านองค์ความรู้จากการเรียนการสอนรวมถึงการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับเด็กโรงเรียนเป็นสถานที่หนึ่ง เป็นที่รวมของเด็กนักเรียน ซึ่งมาจากที่ต่างๆกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันไป โรคที่พบในเด็กนักเรียนและอุบัติเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทราบแนวทางปฏิบัติต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยได้ โรงเรียนบ้านตูแตหรำหมู่ที่ 12ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีสภาพทั่วไปเป็นชุมชนแออัดประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้าง ทำการประมงจากนายทุน หาเช้ากินค่ำ มีรายได้น้อย ครอบครัวแตกแยก นักเรียนอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการเรียนของเด็กได้แก่ ปัญหานักเรียนอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 40นักเรียนฟันผุร้อยละ60นักเรียนเป็นเหาร้อยละ 40และเป็นไข้เลือดออกร้อยละ 10ปัญหาดังกล่าวสาเหตุมาจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น ปัญหาฟันผุกว่าครึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเด็กในวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยวและดื่มน้ำอัดลม เป็นสาเหตุของปัญหาฟันผุ เพราะมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลสูง นักเรียนยังขาดความรู้มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ในการเลือกรับประทานอาหาร การแปรงฟัน การรักษาความสะอาดของศีรษะและเส้นผม การกำจัดและป้องกันตัวเองจากยุง โรงเรียนบ้านตูแตหรำ เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง ติดตามทุพโภชนาการเด็ก และเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก รวมทั้งป้องกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ปกครองและ นักเรียนมีความรู้ และ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก สุขวิทยา และการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ  90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก สุขวิทยา และการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

90.00
2 2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน
  1. นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการร้อยละ 100
  2. นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
80.00
3 3 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันและสุขภาพกายที่เหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง กรณีพบฟันผุได้รับการรักษาต่อทุกราย
  2. นักเรียนร้อยละ 70 ที่เป็นเหาสามารถรักษา ลดการแพร่สู่ผู้อื่น และการกลับมาติดเหาซ้ำอีก
80.00
4 4 เพื่อลดอัตราการป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ค่า HI ไม่เกิน…….และค่า CI ไม่เกิน………….
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,390.00 6 48,390.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก 0 0.00 0.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 3 ฟันดี มีสุข (กิจกรรมต่อเนื่อง) 0 10,095.00 10,095.00
15 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง 0 24,095.00 24,095.00
21 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 4 สลัด สะบัดเหา 0 5,600.00 5,600.00
23 พ.ค. 61 - 10 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ 5 ไข้เลือดออก 0 7,600.00 7,600.00
10 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,000.00 1,000.00

ขั้นเตรียม
1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอำเภอละงูจังหวัดสตูล 2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care)
3. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ(Health and Healthy Care)
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง 1.1 ภาวะโภชนาการ 1.2 สุขภาพในช่องปากเช่น ด้านสุขภาพเหงือกและฟันการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ 1.3 สุขวิทยาส่วนบุคคล เช่น ร่างกาย ผิวหนัง ผม เล็บ เป็นต้น 1.4 การควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก เป็นต้น กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก 2.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนระดับอนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที 6 2.2 แยกประเภทนักเรียนประเภทนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการพร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ 2.3 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก 2.4 นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกิน และต่ำ แจ้งผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางการแกไขที่ถูกต้องโดยวิธีการมีส่วนร่วมโดยสหวิชาชีพ กิจกรรมที่ 3ฟันดี มีสุข (กิจกรรมต่อเนื่อง) 3.1จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์การแปรงฟันเพื่อสาธิตและรณรงค์แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คนละ 1 ชุด 3.2 สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี 3.3 รณรงค์ให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีแกนนำนักเรียนเป็นผู้กำกับดูแลการแปรง และมี เพลงประกอบขณะแปรงฟัน 3.4 แกนนำนักเรียนตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟัน พร้อมบันทึกผล 3.5 กรณีมีเด็กฟันผุให้แกนนำนักเรียนรายงานครูประจำชั้นเพื่อส่งไปรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป กิจกรรมที่ 4 สลัด สะบัดเหา 4.1 แนะนำพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณการกำจัดเหาและวิธีการนำไปใช้ในการกำจัดเหา 4.2 สาธิตวิธีการกำจัดเหาโดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม 4.3รณรงค์กำจัดเหาในนักเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4.4นักเรียนแกนนำสุขภาพตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมลงบันทึกรายงาน กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมไข้เลือดออก 5.1จัดจ้างทำป้ายไวนิล ในการรณรงค์ไข้เลือดออก 5.2 รณรงค์พร้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยนักเรียนและผู้ปกครอง เดือนละ 1 ครั้ง 5.3จัดกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน และห้องน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 5.4สำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อหาค่า HI / CI เพื่อหาแนวโน้มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค 5.5 รณรงค์การจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลในชุมชนโดยนักเรียนและผู้ปกครอง 5.6กรณีพบนักเรียนป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้เลือดออกโรงเรียนดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยเร็วเพื่อดำเนินการป้องกัน และสอบสวนโรคต่อไป ขั้นสรุปผล 1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ 2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.กำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็ก สุขภาพในช่องปาก สุขภาพกายและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. มีการติดตามและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กทุกราย
  3. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง
  4. นักเรียนรู้วิธีการกำจัดเหา และมีสุขภาพกายที่เหมาะสม
  5. อัตราป่วยของนักเรียนจากโรคไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 15:23 น.