กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกาลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 60-L6895-1-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2016 ถึง 30 กันยายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 60-L6895-1-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 31 ตุลาคม 2016 - 30 กันยายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,760.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ภัยเงียบของโรค Metabolic (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง)ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิตตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐเอกชนและสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยาบุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolicโดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายในรายที่ป่วยแล้วได้รับการตรวจประเมินภาวะโรคอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคพร้อมบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานบริการ (HOSxP_PCU) ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ15 ปีขึ้นไปเขตเทศบาลเมืองกันตังขึ้นเพื่อดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังแก่ประชาชน ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพรายบุคคลตามบริบทของแต่ละบุคคลในชุมชนและประชาชนเกิดความตระหนัก ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
  3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  4. เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 4,073
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการขึ้นทะเบียน และกลุ่มสงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
    3. แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อน-หลังการอบรม

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    วันที่ 22 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้

     

    100 100

    2. บันทึกผลการดำเนินงานลงโปรแกรม HOSXP_PCU

    วันที่ 1 มกราคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บันทึกข้อมูลการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  ลงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย ( HOSXp_PCU )  สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม  2559 – 31 มีนาคม 2560  มีดังนี้  การคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค เป้าหมายประชากร 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,558 คน พบเป็นกลุ่มปกติ 923 คน กลุ่มเสี่ยง 1,318 คน กลุ่มสงสัย 118 คน และกลุ่มป่วย 1,199 คน  ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน 3,137 คน พบเป็นกลุ่มปกติ  1,583 คน กลุ่มเสี่ยง  475 คน กลุ่มสงสัย 85 คน และกลุ่มป่วย 994 คน 

     

    3,558 3,558

    3. ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน 12 แห่ง

    วันที่ 10 มกราคม 2017 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน ออกปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมุนเวียนทั้ง 12 ชุมชน พร้อมคืนข้อมูลให้ประชาชนในชุมชน
      2.ในรายที่พบภาวะเสี่ยงได้ให้สุขศึกษารายบุคคลเรื่อง  3อ.  2ส.  ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง  พร้อมนัดคัดกรองโรคซ้ำหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน
    2. ในรายที่สงสัย  ได้ให้สุขศึกษารายบุคคลเรื่อง  3 อ. 2 ส.  ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ 14 วัน โดยประสานแกนนำสุขภาพ ในการดำเนินการ พร้อมส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ประเมินเพื่อส่งต่อหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4 สัปดาห์ พบผิดปกติ  3  ราย  ได้ส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกันตัง 3 ราย
    3. ในรายที่พบภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ  สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน  ได้ให้สุขศึกษารายบุคคลเรื่อง 3 อ. 2 ส. ในการดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน  พร้อมนัดติดตามเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำที่ศูนย์บริการสาธารณสุข  เทศบาลเมืองกันตัง  พบผิดปกติ  2  ราย  ได้ส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกันตัง  2 ราย

     

    6,963 3,558

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน  เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ซึ่งมีแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้ารับการอบรม  จำนวน  100  คน  เมื่อวันที่  22  ธันวาคม  2559 ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  ฝึกปฏิบัติโดยจัดเป็นฐานให้ความรู้ 5 ฐานพร้อมทำแบบประเมินการเข้าฐาน ดังนี้ ฐานที่  1  การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผลด้วยนวัตกรรม ฐานที่  2  การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผลด้วยนวัตกรรม ฐานที่  3  การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล ฐานที่  4  การปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อโรคด้วยอาหาร ฐานที่  5  การเรียนรู้การออกกำลังกายด้วยยางยืด
    2. มีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม  ผลการทดสอบมีดังนี้ ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรม  ก่อนและหลังการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การวัดความดันโลหิต-การแปลผล,  การตรวจน้ำตาลในเลือด  (ปลายนิ้ว)-การแปลผล,  ดัชนีมวลกายและการวัดรอบเอว-การแปลผล (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ  จำนวน  10 ข้อๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  10 คะแนน)  สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้
      • ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน  92  ชุด  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  4  คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  13  คน  8  คะแนน จำนวน 25 คน  7 คะแนน จำนวน 17 คน  6 คะแนน จำนวน 12 คน 5 คะแนนจำนวน 15 คน 4 คะแนน จำนวน 5 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  3  คะแนน  จำนวน  1  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  8 คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  27.17  รองลงมาคือ  7  คะแนนและ 5  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  18.47  และ  16.30  ตามลำดับดังตาราง
      • หลังการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน 90  ชุด  พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10 คะแนน  จำนวน  8 คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  19  คน  8  คะแนน  จำนวน 28  คน  7  คะแนน  จำนวน  15  คน  6  คะแนน  จำนวน  14  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  5  คะแนน  จำนวน  6  คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  8  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  31.11  รองลงมาคือ  9  คะแนน และ 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 21.11 และ  16.66 ตามลำดับ
    3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพชุมชน ออกปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปหมุนเวียนทั้ง 12 ชุมชนพร้อมคืนข้อมูลให้ประชาชนในชุมชน
    4. บันทึกข้อมูลการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย  (HOSXp_PCU)  สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2559 – 31 สิงหาคม 2560
      ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ 74.42

    - กลุ่มปกติ ร้อยละ 36.07 - กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 35.01 - กลุ่มสงสัย ร้อยละ 3.06 - กลุ่มป่วย ร้อยละ 25.86 ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 61.97 - กลุ่มปกติ ร้อยละ 75.75 - กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 8.83 - กลุ่มสงสัย ร้อยละ 1.21 - กลุ่มป่วย ร้อยละ 14.21

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด :

     

    2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
    ตัวชี้วัด :

     

    3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
    ตัวชี้วัด :

     

    4 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4073
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 4,073
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง (3) เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา (4) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560 จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 60-L6895-1-03

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสุพรรณนิกาลีลาสำราญ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด