กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านควน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5307-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 46,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภา นวลดุก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทน ผอ.รพ.สต.บ้านควน 1
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 46,000.00
รวมงบประมาณ 46,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุข
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุ ฯลฯการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุข ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน (บ้านควน1) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก ในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้

70.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 184 46,000.00 1 46,000.00
4 มิ.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 92 46,000.00 46,000.00
4 มิ.ย. 63 ติดตามการดำเนินงานสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 92 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 92 คน มีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 00:00 น.