กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านควน ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านควน ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
นางสุภา นวลดุก
นางสุพิชชา หมาดสกุล
นางวัชรีบินสอาด
นางสาวโสภิตรา นารีเปน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุข

 

70.00

หลักการและเหตุผล
การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุ ฯลฯการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุข ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน (บ้านควน1) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก ในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 92

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 92 คน
โดยมีการอบรมให้ความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการ จำนวน 4 วัน ดังนี้

- วันที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องงานอนามัยแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพจิต
- การดูแลหญิงตั้งครรภ์ สำหรับอสม.
- การเยี่ยมหลังคลอดมารดาและทารกแรกเกิด
- วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี
- การชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงและประเมินภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี
- การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพจิต
- การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพจิต

- วันที่ 2 อบรมให้ความรู้และทักษะทางด้านวิชาการเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การรับประทานอาหารรสเค็ม มัน และหวาน
- การดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- สอนทักษะการตรวจน้ำตาลในเลือด และการวัดความดันโลหิต เช่น ฝึกปฏิบัติเจาะ DTX และวัดความดันโลหิต

- วันที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
- พฤติกรรมสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
- สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับ อสม.

- วันที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวเรื่องโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย อุจจาระร่วง หัด และวัณโรค เป็นต้น
- ให้ความรู้ และสอนทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่นการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อหมดหมดสติหรือได้รับอุบัติเหตุการทำแผลเบื้องต้น
- ค่าอาหารกลางวันอสม. จำนวน 92 คน X 75 บาท X 1 มื้อ X 4 วันเป็นเงิน 27,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอสม. จำนวน 92 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 4 วันเป็นเงิน18,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 92 คน มีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามการดำเนินงานสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงานสุขภาพเชิงรุกด้านการบริการสาธารณสุขในอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. งานอนามัยแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพจิต โดยการติดตามทางเอกสาร/โทรศัพท์/Application Line
    • การติดตามความครอบคลุมวัคซีน
    • การติดตามเยี่ยมและให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ และสำรวจหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยง (วัดความดันโลหิต และตรวจเบาหวาน)
    • สำรวจ เยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพจิตด้านการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
  2. เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
    • คัดกรองโดยการตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจเบาหวานในหมู่บ้านโดย อสม.ให้กับประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และส่งต่อในรายที่ผิดปกติ
  3. เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
    • บริการตรวจเต้านมโดย อสม. ในหมู่บ้าน และส่งต่อรักษาในรายที่พบความผิดปกติ
    • บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear โดยเจ้าหน้าที่ และส่งต่อรักษาทันทีในรายที่ผลผิดปกติ
  4. เรื่องโรคติดต่อ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบของอสม.แต่ละหมู่ และเขียนส่งในรายงานประจำเดือนอสม.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สามารถคัดกรองภาวะสุขภาพ และให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 92 คน มีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ ร้อยละ 100


>