กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 11,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารุณี มากแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 11,300.00
รวมงบประมาณ 11,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 513 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการเกษตรทำให้มีการผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตร มีการศึกษาอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางและพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้สามารถถูกสะสมในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การดูดซึมทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และการรับประทาน ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆออกมาเช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ตำบลปันแต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง ในปีงบประมาณ 256๒ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้มีการเจาะเลือดผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ทั้งสิ้นจำนวน ๗๒๘ คน มีผลดังนี้ เจาะเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๒.๓๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๔๒.๘๖ เสี่ยง ร้อยละ ๓๒.๒๘ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๒๒.๕๓ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ มีผู้มาเจาะเลือดครั้งที่ ๒ ร้อยละ ๔๙.๘๗ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๐ ปลอดภัย ร้อยละ ๑๑.๕๖ เสี่ยง ร้อยละ ๕๓.๒๗ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๕.๑๗ กลุ่มเสี่ยงที่มาเจาะเลือดครั้งที่ ๒ มีผลเลือดเท่าเดิม ร้อยละ ๔๙.๒๕ ดีขึ้น ร้อยละ ๓๗.๖๙ แย่ลง ร้อยละ ๑๓.๐๖ จะเห็นได้ว่า ผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงนั้นมีสารเคมีในเลือดอยู่ในกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแตขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป

ร้อยละ ๑๕ ของประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 513 11,300.00 1 11,300.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป 513 11,300.00 11,300.00

1 ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ๒ จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติจากประธานกองทุน ๓ จัดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และนัดวันเวลาและสถานที่ในการตรวจ ๔ ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ ๑ สอบถามข้อมูลพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๕ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนที่มีผลสารเคมีตกค้าง เสี่ยงและไม่ปลอดภัย
๖ ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้างครั้งที่ ๒ ซ้ำในเกษตรกรที่มีผลสารเคมีตกค้าง เสี่ยงและไม่ปลอดภัย ๗ ติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย ๒ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2563 00:00 น.